การวิเคราะห์เพื่อจำแนกกลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่า โดยใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps)
Keywords:
การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, สายการบินต้นทุนตํ่า, Discriminant analysis, Service marketing mix, Low-cost airlinesAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการจำแนกกลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่า เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร คือ ผู้โดยสารสายการบินต้นทุนตํ่าสายการบิน A และ B ที่ใช้บริการเส้นทางภายในประเทศจำนวน 450 คน โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์แบบ Exploratory Factor Analysis (EFA) ในส่วนของปัจ จัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ โดยการวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อทำการสกัดปัจจัยด้วยวิธี Principal Component Analysis (PCA) และใช้การหมุนแกนแบบ Orthogonal Rotation วิธี Varimax แล้วนำค่าปัจ จัยแบบ Regression Factor Score มาวิเคราะห์จำแนกกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการด้วยเทคนิค Discriminant Analysis (DA) พบว่า การให้ความสำคัญต่อการจัดโปรโมชั่นราคาตั๋วโดยสารในช่วงเทศกาล ความเหมาะสมของราคาค่าตั๋วโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในเส้นทางเดียวกัน การใช้การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เป็นปัจ จัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการที่จำแนกว่าเป็นลูกค้าที่ต้องการใช้บริการของสายการบิน A หรือ สายการบิน B (Coefficients = 0.856) รองลงมาคือ ความสำคัญของชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสายการบิน ลักษณะและสภาพของเครื่องบินที่ใช้ การบริการทั้งภาคพื้นดินและบนเครื่องบินที่มีคุณภาพ และเคาน์เตอร์เช็คอินที่ออกแบบดึงดูดตาและตั้งในที่ที่สามารถหาได้ง่าย (Coefficients = 0.502)
Discrimination Analysis of Low-cost Airlines Customers by Using Service Marketing Mix (7Ps)
This research purpose was to study marketing factors influencing discrimination of low-cost airlines customers. This is quantitative research which used questionnaires for data collection. Samples were 450 passengers of two low-cost Airlines “A” and “B” providing domestic travel services. For data analysis, the research employed Principal Component Analysis (PCA) of Exploratory Factor Analysis (EFA) with Varimax Orthogonal Rotation method to obtain factor scores and used Discriminant Analysis (DA) to discriminate the factors. Results revealed that promotion of fare price reduction during festival period, appropriate fare prices compared against competitor in the same route and appropriate advertisement conducted through various medias were the most influential factor discriminating customers whether desiring services from the Airline “A” or “B” with a coefficient score as of 0.856. The other was that airlines’ reputation and reliability, characteristics and condition of both of on-ground and on-board aircraft with high quality service and attraction of check-in counters with easily seen location was secondly significantly an influential factor for customer discrimination of the aforementioned airlines with a coefficient score as of 0.502.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น