ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณอายุ ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนนทบุรี
Keywords:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความสุขในงาน, quality of work life, work happinessAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและระดับความสุขในการทำงานของพนักงานก่อนวัยเกษียณ 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ของพนักงานก่อนวัยเกษียณ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความสุขในการทางานของพนักงานก่อนวัยเกษียณ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดนนทบุรี ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป โดยมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนนทบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 400 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติในการวิเคราะห์ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีเทส การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีตำแหน่งงานเป็นพนักงาน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 –20,000 บาท และมีอายุงานมากกว่า 16 ปี ขึ้นไป 2) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยคุณภาพชีวิตด้านสิทธิของพนักงานมากที่สุด และมีคุณภาพชีวิตด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานต่ำที่สุด 3) ระดับความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมาก โดยความสุขในการทำงานด้านความรักในงานมากที่สุด และมีความสุขในการทำงานด้านการติดต่อสัมพันธ์ต่ำที่สุด 4) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานจาแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยด้านตำแหน่ง การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุงานในปัจจุบันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5) ผลการหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสุขในการทำงานทั้งในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกันมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานด้านการติดต่อสัมพันธ์สูงที่สุด และด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานด้านการติดต่อสัมพันธ์ต่ำที่สุด
The Relation Between Quality of Work Life and Work Happiness of Before Retirement Employee in Industry Nonthaburi Province.
The purposes of this research were: 1) to study level of quality of work life, and work happiness of Before Retirement Employee. 2) to compare the quality of work life and the Work Happiness of these personals as classified by the demographical characteristics. 3) to study the correlation between the quality of work life and the work happiness of Before Retirement Employee. The population sampling was Before Retirement Employee in Industry Nonthaburi Province. The samples were used collected 400 samples. The data were analyzed by mean, percentages, standard deviation, t-test, F-test and Pearson correlation by computer program.
The research findings were as follows: 1) the results of the study found that the majority of population was female, graduated in the bachelor level, income between 10,001-20,000 baht and the work period over 16 years. 2) Overall, the level of quality of work life was rather moderate. The quality of work life in constitutionalism was the highest. The least was the quality of work life in growth and security. 3) Overall, the level of work happiness was rather high. The work happiness in love was the highest. The least was the work happiness in connections. 4) The comparison between the quality of work life and the work happiness by gender was not different and in the comparison by position, educational level, income and work period were not different as a whole with statistical significance at the level of 0.05 5) results for the correlation between the quality of work life and the work happiness as a whole showed a positive correlation with statistical significance at the 0.01 level. The quality of work life in social integration with work happiness in connections has positive relationship at very high level. The quality of work life in adequate and fair compensation with work happiness in connections has positive relationship in very low level.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น