การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าขององค์กรฝึกอบรม
Keywords:
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน, องค์กรฝึกอบรม, ความสัมพันธ์กับลูกค้า, ความภักดีของลูกค้า, Integrated Marketing Communications, Training Organization, Customer Relationship, Customer LoyaltyAbstract
การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานช่วยให้องค์กรสามารถสื่อสารในสิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่ง รวมทั้งสามารถบอกถึงคุณสมบัติที่ดีต่างๆ ผ่านเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานหลากหลายรูปแบบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความต่อเนื่อง ซึ่งการที่องค์กรใช้การสื่อสาร การตลาดแบบผสมผสานจะช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคเป้าหมาย และทำให้ผู้บริโภครับรู้ในเนื้อหาของสารตามที่องค์กรต้องการจะถ่ายทอด ทั้งนี้องค์กรฝึกอบรมของรัฐบาล เอกชน และสถานศึกษามีการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานที่องค์กรฝึกอบรมนิยมใช้ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การขายโดยบุคคล และการตลาดทางตรง
Integrated Marketing Communications in Building Customer Relationship of Training Organizations
Integrated marketing communication helps organizations to communicate to consumers about how they differ from their competitors. An organization can present its outstanding qualities through various marketing communication tools in the same direction and consistently, which help them reach their target group. In turn, the consumers will become familiar and confident with the organization, and have the kind of behavior desired by the organization. Training organizations of government units, private companies, and educational institutes have been using integrated marketing communication to build relationship with customers. Most widely-used communication methods are: public relations, advertising, sales promotion, personal selling, and direct marketing.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น