โมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการโซ่อุปทานและพันธมิตรทางการค้าต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน

Authors

  • ชาญชัย พรมมิ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สวัสดิ์ วรรณรัตน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพันธมิตรทางการค้าของผู้ประกอบการระดับการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการ และระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ 2) ศึกษาอิทธิพลของพันธมิตรทางการค้าที่มีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานและความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ 3) ศึกษาอิทธิพลของการจัดการโซ่อุปทานทีมี ผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนวน 350 ตัวอย่าง ที่ได้รับการรับรองการคัดสรรผลิตภัณฑ์ระดับ 3 ถึง 5 ดาว สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดำเนินงานของกิจการอยู่ระหว่าง 2 ถึง 5 ปี (ร้อยละ 40.6) ได้รับการรับรองการคัดสรรสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว (ร้อยละ 39.1) และเป็นผู้ประกอบการสินค้าประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย (ร้อยละ 30) และผลการศึกษายังพบว่า ผู้ประกอบการมีระดับพันธมิตรทางการค้าอยู่ในระดับสูงทางด้านระดับการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการอยู่ในระดับสูง และระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการอยู่ในระดับสูง

การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและทดสอบ สมมติฐานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า โมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (\inline \chi2/ df = 1.064, GFI = 0.975, NFI = 0.973, CFI = 0.998, RMSEA = 0.014) พันธมิตรทางการค้าของผู้ประกอบการไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการพันธมิตรทางการค้าของผู้ประกอบการไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการแต่สำหรับการจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ

 

A Structural Equation Modeling of Supply Chain Management and Trade Partnership on Competitive Advantage

The purposes of this research were to 1) study the level of trade partnership supply chain management and competitive advantage 2) study the influence of trade partnership on supply chain management and competitive advantage and 3) study the influence of the supply chain management on competitive advantage. The samples of this research were 350 One Tambon One Product (OTOP) entrepreneurs. The OTOP products of these entrepreneurs have been certified ranging from three to five stars. This study applied statistical methods, including percentage, average, standard deviation and analysis of structural equation modeling (SEM). The results showed that majority of entrepreneurs had the operating period between two to five years (40.6%), have been certified the selected OTOP as4stars (39.1%), and have fallen textiles and apparel entrepreneurs (30%). The research output also indicated that the level of trade partnership, the level of entrepreneurs’ supply chain management, and the level of entrepreneurs’ competitive advantage were high.

A structural equation modeling was use to conduct the factor analysis and test hypotheses. The outputs showed that models were fit with the empirical data (\inline \chi2 / df = 1.064, GFI = 0.975, NFI = 0.973, CFI = 0.998, RMSEA = 0.014). The trade partnership had not significant direct effects on supply chain management and competitive advantage. However the supply chain management had direct effect on the competitive advantage.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)