ระบบสารสนเทศสำหรับการสืบค้นข้อมูลท่องเที่ยวด้วยเสียง
Keywords:
การสืบค้นข้อมูล, การรู้จำเสียงพูด, ระบบการจัดการ, ระบบสารสนเทศ, ข้อมูลท่องเที่ยว, Information Retrieval, Speech Recognition, Management System, Information System, Tourism InformationAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยว ที่เปลี่ยนวิธีการค้นหาจากการใช้คีย์บอร์ด เมาส์ หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ มาเป็นการใช้เสียงในการค้นหา โดยการประยุกต์ใช้ระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย (iSpeech) ร่วมกับซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย (Vaja) ซึ่งสามารถแสดงปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ภายในระบบ เพื่อพัฒนาให้แสดงผลในรูปแบบของภาพและเสียง พร้อมทั้งแผนที่รายละเอียดและคำอธิบายของสถานที่ท่องเที่ยว ในงานวิจัยนี้จะใช้ภาษา C# ในการเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ในส่วนของการใช้งานโปรแกรม นอกจากค้นหาข้อมูลการท่องเที่ยวแล้ว ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มลบ หรือแก้ไขข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว และยังสามารถกำหนดเวลาในการรับคำสั่งเสียงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้คำสั่งที่สั้น หรือยาวได้ ในการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ (ซึ่งตั้งเวลาในการรับคำสั่งเสียง 3 วินาที) พบว่าในสภาวะแวดล้อมแบบไม่มีเสียงรบกวน การใช้คำสั่งการค้นหาด้วยเสียงมีความถูกต้อง 97.63 % และการค้นหาข้อมูลมีความถูกต้อง 98.5 % โดยที่คำสั่งที่สั้นจะมีความถูกต้องมากกว่าคำสั่งที่ยาว ส่วนในสภาวะแวดล้อมแบบมีเสียงรบกวน การใช้คำสั่งการค้นหาด้วยเสียงมีความถูกต้อง 83.64 % และการค้นหาข้อมูลมีความถูกต้อง 86.4 % โดยที่คำสั่งที่สั้นจะมีความถูกต้องน้อยกว่าคำสั่งที่ยาว
Tourism Information Search System by Speech
The aim of this research was developing a tourism information searching system by speech, not keyboard, mouse or other control devices. Applying Thai speech recognition system (iSpeech) with speech synthesis software (Vaja) supports interaction with users within the system. The search results were images and sound together with a map, details and descriptions of attractions. The system was implemented in C# to connect other software components to work together. To test the system, it was observed for 3 seconds. In non-noisy environments it reached 97.63 percent accuracy in voice-search commands and it reached 98.5 percent of information accuracy; shorter statements gave better results than longer statements. Meanwhile, testing in noisy-environments it reached 83.64 percent accuracy in voice-search commands and 86.4 percent of information accuracy; longer statements gave better results than shorter statements.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น