การวิเคราะห์ศักยภาพเส้นทางการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังเอเชียกลางโดยผ่าน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
Keywords:
เส้นทางการขนส่งสินค้า, เอเชียกลาง, สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน, สาธารณรัฐคาซัคสถาน, ท่าเรือบันดาร์อับบาส, ท่าเรือการาจี, Transport Routes, Central Asia, Islamic Republic of Pakistan, Republic of Kazakhstan, Bandar Abbas Port, Karachi PortAbstract
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเส้นทางการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐ คาซัคสถาน จากการศึกษาพบว่าเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐคาซัคสถานมี ด้วยกัน 8 เส้นทาง โดยในปจัจุบนั การขนส่งใช้เส้นทางที่ผ่านท่าเรือบันดาร์อับบาสของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แต่จากการศึกษาพบว่า เส้นทางที่ผ่านท่าเรือการาจีของสาธารณรัฐอิสลาม ปากีสถานเป็นเส้น ทางที่มีความเหมาะสมมากกว่าเส้นทางที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งในแง่ของระยะเวลาและ ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เส้นทางที่นำเสนอจะทำให้ระยะเวลาในการขนส่งลดลง 14 วัน (คิดเป็นร้อยละ 22.95) และค่าใช้จ่ายลดลง 72,849 บาทต่อเที่ยว (คิดเป็นร้อยละ 34.08) นอกจากนั้น ท่าเรือการาจียัง ได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบด้วยประเทศมหาอำนาจต่างๆ และมีข้อตกลงทางการค้าระหว่าง สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานกับสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของท่าเรือการาจีคือ ใช้เวลาในการจัดการด้านเอกสารนำเข้านาน และต้องขนส่งผ่านหลายประเทศPotential Analysis of Goods Transportation Route from Thailand to Central Asia through Islamic Republic of Pakistan
This research studies the transportation routes between Thailand and Republic of Kazakhstan. Based on the study, it is found that there are eight transportation routes between Thailand and Republic of Kazakhstan. In present, Bandar Abbas port of the Islamic Republic of Iran is used. The study finds that Karachi port of Islamic Republic of Pakistan is more appropriate than Bandar Abbas port in terms of transporting period and cost. The route using Karachi port gives 14 days less in transporting period (22.95%) and 72,849 baht per route (34.08 %) less in transporting cost. Furthermore, Karachi port has geographic advantages because it is surrounded by powerful countries and its country; Islamic Republic of Pakistan has trade agreement with Islamic Republic of Afghanistan. The weaknesses of Karachi port are, the documentary period is long and the route passes through several countries.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น