การจัดตารางการผลิตสำหรับการผลิตขวดพลาสติกแบบที่มีการพิมพ์สี
Keywords:
การจัดตารางการผลิตแบบตามสั่ง, การผลิตขวดพลาสติก, การค้นหาแบบตาบู, Job Shop Scheduling, Plastic bottle Production, Tabu SearchAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดตารางการผลิตแบบตามสั่งเพื่อลดเวลาส่งงานไม่ทันกำหนดรวมให้มีค่าน้อยที่สุด โดยวิธีการจัด ตารางการผลิตแบบตามสั่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการแบ่งกลุ่มงาน มอบหมายงานให้เครื่องจักรโดยใช้กฎการจ่ายงานด้วยเกณฑ์ทำงานที่ถึงวันกำหนดส่งเร็วที่สุดก่อน โดยพิจารณาข้อจำกัดในการผลิตขวดพลาสติก และลำดับความสำคัญ ของลูกค้าขั้นตอนที่สองการจัดลำดับงานให้กับเครื่องจักร โดยการค้นหาแบบตาบูเพื่อหาผลลัพธ์ทีดี่ที่สุด ส่วนการสร้างคำ ตอบตั้งต้นได้ทำการหาคำตอบข้างคียงเพื่อช่วยหาคำตอบที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยการหาคำตอบข้างเคียงได้พัฒนาโปรแกรมคอพิว เตอร์ช่วยคำนวณหาผลลัพธ์ตามวิธิกีารค้นหาคำตอบข้างเคียงและการค้นหาแบบตาบูจากผลการทดลองในช่วงงานที่ 70-90 งาน ช่วงงานที่ 91-110 งาน ช่วงงานที่ 111-130 งาน และช่วงงานที่ 131-150 งาน พบว่าวิธีการจัดตารางการผลิตโดยวิธี Insertion Interchange ให้ค่าเวลาส่งงานไม่ทันกำหนดรวมน้อยกว่าการจัดตารางการผลิตแบบเก่าโดยใช้หลัก เกณฑ์รับก่อนทำ ก่อนประมาณ 95% ส่วนของเวลาในการจัดตารางการผลิตใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการจัดตารางการผลิตแบบเก่าโดยใช้หลักเกณฑ์รับก่อนทาก่อนประมาณ 80% ในทุกๆ ช่วงงาน ในการหารอบการค้นหาที่ให้ค่าเวลาส่งงานไม่ทันกำหนดรวมน้อยที่สุด มีลักษณะแบบสุ่มส่วนการจัดตารางการผลิตแบบใหม่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันพบว่า รอบการค้นหาที่ 20 40 60 80 100 และ 120 รอบ วิธี Insertion Interchange ให้ค่าเวลาส่งงานไม่ทันกำหนดรวมที่ดีแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละช่วงงาน และเวลาในการรันโปรแกรมมีความสัมพันธ์กับรอบการค้นหาและจำนวนงานที่ทำการผลิต
Job Shop Scheduling for Color Printing of Plastic Bottle Production.
This research studies and solves the problem of Job Shop Scheduling for Plastic bottle Production. The objective of the study is to reduce the total tardiness of the scheduling results. A two-phase approach is proposed for solving this problem. In the initial phase, a starting solution is allocated that uses priority rule common Earliest Due Date and constraint of machine. The second phase is a sequencing that uses a tabu search. In the start of operation, an initial building answer uses the Neighborhood Search with Insertion Interchange. Finally, a tabu search approach is used to search and optimize the answer. The experiments are ran using range 70-90, 91-110, 111-130, and 131-150 jobs. The result reveals that the Insertion Interchange method has 95 percent less total tardiness than the First Come – First Served method. The method can reduce the time for planning scheduling by 80 percent. The number of iteration resulting the minimum total tardiness has the random pattern. The result indicates that the total tardiness is different at each iteration 20, 40, 60, 80, 100 and 120 iterations. In addition, the run time is related to number of iteration and number of job.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น