5 Forces Model กับการวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน สู่ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย กรณีศึกษา บริษัท คอนเทนเนอร์ ไลเนอร์ จำกัด
Keywords:
การวิเคราะห์ความเป็นไปได้, ตลาดอินเดีย, คอนเทนเนอร์ไลเนอร์พีอี, บริษัท คอนเทนเนอร์ ไลเนอร์ จํากัด, 5 Force Model, Feasibility of Expanding Market, India Market, Container Liner PE, Container liner Company LimitedAbstract
บทความนี้เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อการขยายตลาดของอุตสาหกรรมคอน เทนเนอร์ไลเนอร์พีอีโดยการวิเคราะห์ตัวแบบแรงผลักดันทั้ง 5 (5 Forces Model Analysis) เพื่อวิเคราะห์ และระบุความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) ตลอดจนเพื่อหาความเป็นไปได้ในการขยายตลาดคอนเทนเนอร์ไลเนอร์พีอีเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย ให้กับบริษัท คอนเทนเนอร์ไลเนอร์ จํากัด ผลการศึกษาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 34 คน พบว่า คู่แข่งขันในปัจจุบันมีจํานวนน้อย และขาดศักยภาพในการแข่งขันทั้งด้านคุณภาพของสินค้า ราคา การบริการหลังการขาย รวมทั้งสิทธิบัตร ของตัวสินค้า ตลอดจนการเข้ามาในตลาดต้องใช้เงินลงทุนสูง จําเป็นต้องมีนวัตกรรมใหม่ และใช้เวลาใน การพัฒนาสินค้าร่วมกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เพราะการเปลี่ยนแปลงคู่ค้าจะทําให้ลูกค้ามีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ในการทํางาน และเป็นเรื่องยากที่จะมีสินค้าเข้ามาทดแทนThe 5 Forces Model and Competitive Advantages Analysis for Expanding into Republic of India: A Study of Container Liner Company, Limited
This article was a market expanding feasibility study of Container liner PE industry into the Republic of India by using 5 forces model to analyze and to verify the competitive advantages of Container Liner Company Limited. The study result based on 34 experts’ opinion found that the competitive rivalry are less, lack of competitive potential in term of quality, price, after-sales service, product patent and high investment cost of entering into the marketing, new innovation was required and might take times to co-create the products between buyers and supplier since the changing of supplier will cost more for customers due to the necessity of equipment modification then it is difficult to have substitute products.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น