การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการลงทุนฟาร์มแม่พันธุ์ที่ผลิตเพื่อขายลูกกับโครงการฟาร์มเลี้ยงเฉพาะสุกรขุน
Keywords:
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ, อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ, ระยะเวลาในการคืนทุน, ฟาร์มแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกรขาย, โครงการฟาร์มเลี้ยงเฉพาะสุกรขุน, การศึกษาความเป็นไปได้, Comparative Value of Financial Investment, Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return ProjeAbstract
การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการฟาร์มแม่พันธุ์ที่ผลิตลูกสุกรขายและโครงการฟาร์มเลี้ยง เฉพาะสุกรขุนที่ลงทุนในประเทศไทย โดยกำหนดอัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นร้อยละ 6.45 ต่อปี ระยะเวลาโครงการ 20 ปี และเงินลงทุน 264,530,954 บาท ในช่วงผลิต พ.ศ. 2554 – 2574 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการเงิน ใช้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ และระยะเวลาการคืนทุน โดยการศึกษาครั้งนี้มีการประเมินการลงทุนตั้งแต่การปลูกโรงเรือน การคำนวณปริมาณอาหาร ยารักษาโรค กำหนดอัตราการเข้าคลอดจากการสัมภาษณ์เกษตรกร จากฟาร์มสุกรโดยตรง และการกำหนดราคาขายจากราคาประกาศพันธุ์สัตว์ CPF Feed Marketing Bureau รายได้โครงการประกอบด้วย รายได้จากการขายสุกร รายได้จากการขายสุกรคัดทิ้ง รายได้จากการขายมูลสุกรขุน รายได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากมูลสุกร การวิเคราะห์ทางการเงิน พบว่า โครงการฟาร์มแม่พันธุ์ที่ผลิตเพื่อขายลูก ที่อัตราคิดลดร้อยละ 6.45 ต่อปี เมื่อสิ้นสุดโครงการจะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 103,685,520.06 บาท อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ ร้อยละ 3.30 ต่อปี และ ระยะเวลาการคืนทุน เท่ากับ 14 ถึง 15 ปี ในขณะที่โครงการฟาร์มเลี้ยงเฉพาะสุกรขุน ที่อัตราคิดลดร้อยละ 6.45 ต่อปี เมื่อสิ้นสุดโครงการจะทำให้มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 149,369,124 บาท อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ เป็นร้อยละ 14.98 ต่อปี และระยะเวลาการคืนทุนเท่ากับ 7 ถึง 8 ปี เมื่อเปรียบเทียบโครงการทั้งสอง พบว่าโครงการฟาร์มเลี้ยงเฉพาะสุกรขุน น่าลงทุนมากกว่าโครงการฟาร์มแม่พันธุ์ที่ผลิตลูกสุกรเพื่อขาย โดยมีผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงกว่าเป็น 45,683,622 บาท โดยผลต่างของผลตอบแทนเทียบเท่ามูลค่าปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 30.58 อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการมากกว่าคิดเป็นร้อยละ 11.68 ต่อปี ระยะเวลาการคืนทุน โครงการฟาร์มสุกรเลี้ยงเฉพาะฟาร์มสุกรขุนเร็วกว่า 7 ปี ดังนั้น จึงสมควรเลือกลงทุนในโครงการเลี้ยงเฉพาะสุกรขุน เพราะมีความคุ้มค่าในการลงทุนกว่าโครงการฟาร์มแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกรขาย
The Financial Feasibility Study for Project Between Gestation Sow and Fattening
This financial feasibility study project is for selecting between swine farming especially Gestation sow and Fattening pigs’ farm in Thailand that evaluate the value and predict of financial investment in future. This study is limited in 20 years production period (2011-2031), we used the discount rate at 6.45 percentages per year and 264,530,954 bath for investment both projects. The determination of financial investment analysis by net present value internal rate of return projects and payback period at discount factor 6.45 percentage per year indicated breeding farm producing piglets provides return on investment is 103,685,520.06 baht 3.30 percentages internal rate of return projects and payback period is 14 to 15 years whereas fattening pigs farm provides return on investment is 149,369,124 baht 14.98 percentages per year of internal rate of return projects and payback period is 7 to 8 years. Moreover, The data show that Fattening pigs farm is better return on investment (more 45,683,622 baht) net present value (more 30.58 percentages) internal rate of return projects (more 11.68 percentages per year) and payback period (less 7 years) than gestation sow. Therefore, we suggest Fattening pigs farm for financial investment of swine farming in Thailand.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น