การลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังโดยระบบการผลิตแบบดึงและการจำลองสถานการณ์

Authors

  • ณัฐชยา คงอุดมเกียรติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • เจริญชัย โขมพัตราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ช่อแก้ว จตุรานนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธีรเดช วุฒิพรพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

การผลิตแบบดึง, ใบคัมบัง, วัตถุดิบคงคลัง, กระบวนการเรียกงาน, การจำลองสถานการณ์, Pull Production System, Kanban, Inventory, Ordering Process, Simulation

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังด้วยการปรับกระบวนการเรียกงานจากบริษัทผู้ส่งมอบ จากข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบปริมาณวัตถุดิบคงคลังและชิ้นงานคงค้างระหว่างกระบวนการของบริษัทกรณีศึกษา จากนั้นประยุกต์ใช้แนวความคิดระบบการผลิตแบบดึง โดยใช้ใบคัมบังเพื่อลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังอันเนื่องมาจากกระบวนการเรียกงานจากบริษัทผู้ส่งมอบหลัก 5 บริษัท และใช้ระบบการผลิตแบบดึงเพื่อควบคุมปริมาณการสั่งซื้อและรอบการส่งมอบวัตถุดิบ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการเปรียบเทียบแนวทางการปรับลดรอบในการส่งมอบ 2 แนวทาง คือ 1. รอบการส่ง 2 วันต่อรอบ และ 2. รอบการส่ง 1 วันต่อรอบ เทียบกับแนวทางการส่งมอบปัจจุบันโดยใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากการจำลองสถานการณ์พบว่า แนวทางในการปรับลดรอบในการจัดส่งวัตถุดิบดังกล่าวสามารถลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังได้ถึง 63.32% เมื่อเปรียบเทียบกับระบบการผลิตปัจจุบันของโรงงานตัวอย่าง หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 175,365.31 บาทต่อเดือน

 

Raw Materials Reduction by Pull Production System and Simulation

This research studied inventory reduction by adjusting an ordering process with suppliers. Initial data collection showed the amount of raw materials and Work-In-Process in the case-study company. Then the Pull System approach using a kanban technique was proposed to reduce the inventory due to the ordering process of five primary suppliers. This pull production system concept was to control the amount ordered and order frequency. Moreover, the order frequency was tested at two other scenarios that were a delivery every two days and daily delivery against the current one. The concept was simulated via Arena software using actual data of the past 6 months. The simulation results showed that the proposed scenarios could reduce the inventory level by up to 63.32% compared to the current level, or approximately 175,365.31 Baht worth of inventory reduction.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)