การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและการส่งออก

Authors

  • ชยงการ ภมรมาศ สาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนพร ศรียากูล สาขาวิชาสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์, อัตราแลกเปลี่ยน, การส่งออก, Empirical Discourse Analysis, Exchange Rate, Exports

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมในเชิงประจักษ์ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและการส่งออก ซึ่งถูกผลิตซ้ำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานในสังคมไทย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ทั้งจากแวดวงวิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยนำข้อมูลอนุกรมเวลาของอัตราแลกเปลี่ยน และการส่งออก มาวิเคราะห์ด้วยสถิติขั้นสูง การวิเคราะห์ถดถอย และการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวด้วยวิธีของโจฮานเซน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการส่งออก ขณะที่การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวด้วยวิธีของโจฮานเซน กลับแย้งว่าไม่มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวใดๆต่อกัน ยืนยันให้เห็นอีกครั้งว่าการกล่าวอ้างทรรศนะเหล่านี้ ล้วนมิใช่การบกพร่องโดยสุจริต แต่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการการครอบงำเชิงวาทกรรม ที่เอื้อต่อการฉกฉวยประโยชน์ของชนชั้นนำด้วยการอำพรางให้อยู่ในรูปของความรู้และความจริง ซึ่งสมาชิกอื่นๆ ของสังคมไม่คิดหวาดระแวงหรือโต้แย้ง

 

An Empirical Discourse Analysis on Correlations between the Exchange Rate and Exports.

The objective of this study is to empirically analyze the discourse on correlations between exchange rate and exports, which has been continuously and extensively reproduced in the Thai society by the authorities from academia, the public and private sectors. The study analyzes the time-series data of the exchange rate and exports by advanced statistical analysis, regression, and the Johansen Cointegration Test. Through regression, we find that the exchange rate negatively correlate to exports. On the contrary, Johansen Cointegration Test does not demonstrate any long-term equilibrium relationship. This outcome reaffirms that the claim of such view is not a defect in good faith but another example of the dominance-of oriented discourse, which gives way for elites to take advantage as a camouflage in the form of knowledge and truth, while others in the society never suspect nor argue about it.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)