การประเมินตนเองเกี่ยวกับศักยภาพนักบัญชีมืออาชีพของบัณฑิตใหม่ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Keywords:
ความรู้ทางวิชาชีพ, ทักษะทางวิชาชีพ, คุณค่าจริยธรรมและทัศนคติทางวิชาชีพ, ประสบการณ์เชิงปฏิบัติ, Professional Accounting Content, Professional Skills, Professional Values, Ethics and Attitudes, Practical Experience RequirementsAbstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินตนเองเกี่ยวกับศักยภาพนักบัญชีมืออาชีพของบัณฑิตใหม่ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ทางวิชาชีพด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านคุณค่าจริยธรรมและทัศนคติทางวิชาชีพ และด้านประสบการณ์เชิงปฏิบัติ รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในองค์ประกอบ 4 ด้านดังกล่าว เครืองมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ บัณฑิตใหม่ของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีสิทธิรับปริญญาบัตรปีการศึกษา 2553 จํานวน 267 คนซึ่งคิดเป็น 81% ของประชากร โดยเป็นการประเมินตนเองภายหลังการสำเร็จการศึกษาไปแล้วเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบียงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน้ดวยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าบัณฑิตใหม่ประเมินตนเองว่าตนเองมีศักยภาพนักบัญชีมืออาชีพในภาพรวมทุกด้านในระดับมาก (=3.79) การศึกษาในแต่ละ ด้าน พบว่าด้านที่ได้ระดับมากมี3ด้านคือด้านประสบการณ์เชิงปฏิบัติ (=4.12) ด้านคุณค่าจริยธรรมและทัศนคติทางวิชาชีพ (=4.04) ด้านทักษะทางวิชาชีพ (=3.65) และด้านที่ได้ระดับปานกลางมี 1 ด้านคือด้านความรู้ทางวิชาชีพ (=3.37) ซึ่งผลการประเมินนี้ สอดคล้องกับผลการวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาใหม่ของสถาบันต่างๆเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแต่ละด้านมีสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.17 ถึง 0.69 โดยพบว่าทุกด้านมีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหมายถงึหากศักยภาพด้านหนึ่งเพิ่มขึ้นศักยภาพอีกด้านหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
Self-Assessment about Potentials of Accounting Professionals of Bangkok University New Accounting Graduates.
This survey research aimed to study the level of self-assessment potentials of accounting professionals of new accounting graduates of Bangkok University in four categories, namely, professional accounting content, professional skills, professional values, ethics, attitudes, and practical experience requirements and to examine the relationship among those four categories. The sample of the study was 267 who had received bachelor’s degree in the academic year of 2010 after one year of graduation which represented 81% of the population. The instrument used in this research was the questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics comprising percentage, frequency, mean, standard deviation and inference statistics with Pearson’s Correlation Coefficient. The findings revealed that graduates had high potentials of accounting professionals ( = 3.79). They also had high level of practical experience requirements (=4.12), professional values, ethics, attitudes ( =4.04) and professional skills ( =3.65) respectively. Besides, results showed that their professional accounting content was moderate ( =3.37). These findings mainly correlated with other researches about the qualities of new accounting graduates. Each potential had positive correlation ranging from 0.17 to 0.69. That means if one potential category was high, the other was significantly high as well.
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น