ต้นทุนโซ่อุปทานของปลาส้มฟัก : กรณีศึกษา OTOP อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Authors

  • สุทธิวรรณ สังวร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี
  • จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี

Keywords:

โซ่อุปทาน, ต้นทุน, มูลค่าเพิ่ม, ปลาส้มฟัก, Supply Chain, Cost, Value Added, Pickled Fish

Abstract

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งอาหารเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มากที่สุด บทความนี้จะศึกษาถึงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็คือ ปลาส้มฟัก โดยจะศึกษาโซ่อุปทานและวิเคราะห์ถึงต้นทุนโซ่อุปทานของปลาส้มฟัก นอกจากนี้ยังได้เก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทาน ผลการศึกษา พบว่า โซ่อุปทานของปลาส้มฟัก ประกอบด้วย ผู้เลี้ยงปลา ผู้ค้าส่ง ผู้ผลิตปลาส้ม ฟัก ผู้ค้าปลีก และลูกค้า โดยมีต้นทุนโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นที่ผู้เลี้ยงปลา ผู้ค้าส่ง ผู้ผลิตปลาส้มฟัก และผู้ค้าปลีก ดังนี้ 21.48, 30.70, 97.86, และ 122.82 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายแล้วพบว่า ราคาขายที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบ คือ 25.10, 51.42, 116.82 และ 130.99 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ และเมื่อคำนวณมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น พบว่า มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นโดยรวมเท่ากับ 51.47 บาทต่อกิโลกรัม โดยเกิดขึ้นในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 3.62, 20.72, 18.96, และ 8.17 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจากผลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มจะเห็นได้ว่า มูลค่าเพิ่มที่ผู้เลี้ยงปลามีค่าต่ำที่สุดและต่ำกว่ามูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ มาก ดังนั้นจึงได้นำเสนอแนวทางเพิ่มมูลค่าเพิ่มที่ผู้เลี้ยงปลาและแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้โซ่อุปทาน โดยการสร้างความร่วมมือกันในลักษณะ Cluster เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงปลาและกลุ่มผู้ผลิตปลาส้มฟัก เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

 

Supply Chain Cost of Pickled Fish: Case Study - OTOP Banmi Lopburi

One Tumbon One Product (OTOP) is a product giving reputation and revenue for the country. One of the products giving highest revenue is food. This paper then studies a famous OTOP of Amphor Banmi, Lopburi province which is pickled fish. Supply chain of pickled fish and its cost are studied and analyzed. Moreover, supply chain problems are also investigated. Based on the study, it is found that pickled fish supply chain comprises fish farmer, wholesaler, pickled fish manufacturer, retailer, and customer. The costs incurred in fish farmer, wholesaler, pickled fish manufacturer, and retailer, are 21.48, 30.70, 97.86, and 122.82 baht per kilogram whereas the sale prices are 25.10, 51.42, 116.82, and 130.99 baht per kilogram, respectively. The total value incurred in the supply chain is 51.47 baht per kilogram. The values added in each component are 3.62, 20.72, 18.96, and 8.17 baht per kilogram. It can be seen that the value added of fish farmer is the minimum one. This paper then gives suggestions and recommendations to increase the value added of the fish farmer and strengthen supply chain. In collaboration with the Cluster group, such as fish farmer and pickled fish manufacturer to achieve integration and support within the group.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)