การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดจ้าง (Outsourcing) ด้านการขนส่งสินค้า
Keywords:
บริการการจัดจ้าง, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, การขนส่งสินค้า, outsourcing, Analytic Hierarchy Process, logisticsAbstract
การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดจ้าง (Outsourcing) ด้านการขนส่งสินค้าและความสำคัญในแต่ละปัจจัย การศึกษาครั้งนี้ทำโดยการสัมภาษณ์กลุ่มอุตสาหกรรม 4 ประเภท คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตร, อาหาร และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการการจัดจ้าง (Outsourcing) ด้านการขนส่งสินค้าประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก และ ปัจจัยย่อยดังนี้ คือ 1) อัตราค่าบริการ 2) ความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย 2.1) ชื่อเสียง 2.2) ความมัน่ คง 2.3) ประสบการณ์ 3) ศักยภาพ ประกอบด้วย 3.1) ความยืดหยุ่นในการให้ บริการ 3.2) เทคโนโลยี 3.3) ความสามารถในการรองรับงาน และ 4) ศักยภาพ ประกอบด้วย 4.1) การตรงต่อเวลา 4.2) การรับประกันความเสียหาย และได้นำปัจจัยที่ได้ไปสัมภาษณ์กลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 4 ประเภท มาหาน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัย โดยการเปรียบเทียบปัจจัยเป็นคู่ๆ ตามแนวทางกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process, AHP) และเปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญโดยใช้โปรแกรม Expert Choice Version 9 รวมทั้งใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ด้วยวิธี Paired Samples Test เพื่อทำให้ทราบว่ามีปัจจัยคู่ไหนบ้างที่แตกต่างกันหรือที่ไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง ใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ความแปรปรวนของปัจจัยระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ของทั้ง 4 อุตสาหกรรม ด้วยวิธี ANOVA ทำให้ทราบว่าทั้ง 4 อุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับปัจจัยระดับที่ 1 และปัจจัยระดับที่ 2 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติResearch on Factors Influencing the Selection of Outsourcing for Product Logistics
This research was to examine the factors influencing the selection of outsourcing for product logistics and significance of each dominant factor. The research was conducted by interviews of 4 industrial clusters: automobile, electricity, agriculture and food, and chemicals. There were 4 main factors influencing the selection of outsourcing for product logistics, and also other 2 minor factors: 1) service fee; 2) creditability, which consisted of 2.1) reputation, 2.2) stability, 2.3) experience, 3) potential, which consisted of 3.1) service flexibility, 3.2) technology, 3.3) ability of work handling, and 4) potential, which consisted of 4.1) punctuality, 4.2) damage warranty. The factors from interviews of all 4 industrial clusters were weighted to find out the importance of each factor. The paired factors were compared by the Analytic Hierarchy Process (AHP) and the importance weights were compared by the use of Expert Choice Version 9. The SPSS program was used to analyze the factor correlation by the use of Paired Samples Test to find out the difference and indifference of each paired factor. The SPSS program was also used to analyze the deviation of factors at Level 1 and Level 2 of all 4 industrial clusters by way of ANOVA. The results showed that there was no difference in the importance given to factors at Level 1 and Level 2 for all 4 industrial clusters at a statistic test level
Downloads
Issue
Section
License
ข้อความ ข้อคิดเห็น ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง เป็นต้น ที่ปรากฏและแสดงในบทความต่างๆ ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครก่อนเท่านั้น