การเปลี่ยนผ่านและปัญหาที่ท้าทายของสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาการแพทย์ไทย

Authors

  • ชยันต์ วรรธนะภูติ Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University

Abstract

งานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ เป็นตัวอย่างของแนวการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่เปลี่ยนผ่านไปสู่แนวคิดหลังความทันสมัย (Post-Modern Turn) ซึ่งไม่นิยมใช้ทฤษฎีสังคมขนาดใหญ่ แต่ใช้แนวคิดทางทฤษฎี (Concept) หลายๆ แนวคิดเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่สลับซับซ้อน ละเอียดอ่อนภายใต้บริบททางการเมือง มานุษยวิทยาการแพทย์ก็ได้รับอิทธิพลนี้เช่นเดียวกัน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (2549) ได้ให้ข้อสังเกตของการเปลี่ยนผ่านของมานุษยวิทยาการแพทย์ 4 ด้าน คือ การเปลี่ยนผ่านการนิยามวัฒนธรรม ที่เป็นชุดของ “ความคิดและการปฏิบัติการที่ขัดแย้งและท้าทายกัน” มีพลวัต และเป็น “แนวรบสำคัญในการต่อต้านการครอบงำ” การเปลี่ยนผ่านจากระบบการแพทย์สู่ประสบการณ์ ซึ่งงานชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับความเป็นชายขอบของคนเลี้ยงช้างของโกมาตร (1998) ที่กล่าวข้างต้นก็เป็นตัวอย่างที่ดี การเปลี่ยนผ่านจากการเข้าใจแพทย์พื้นบ้านสู่การวิจารณ์การแพทย์สมัยใหม่ โดยหันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของการเจ็บป่วย และประเด็นสุดท้าย คือ การเปลี่ยนผ่านสู่ Reflexivity ของนักมานุษยวิทยามากขึ้น เป็นการตรวจสอบงานเขียนวัฒนธรรมของตนเองเพื่อดูว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเมืองเรื่องการผลิตความรู้อย่างไร

ส่วนงานมานุษยวิทยาการแพทย์อีกเรื่องหนึ่งที่ออกมาในระยะเวลาใกล้เคียงกัน คืองานของ Andrea Whittaker เรื่อง Intimate Knowledge: Women and their Health in North-East Thailand (2000) ซึ่งเขียนจากทัศนะที่ให้ความสำคัญต่อผู้หญิงและปัญหาสุขภาพ โดยใช้การวิเคราะห์โครงสร้างการเมืองและระบบสาธารณสุข ที่รัฐจัดการและควบคุมอีสาน และการศึกษาประสบการณ์ความเจ็บป่วย (Illness Experience) ผู้หญิงอีสาน โดยศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย พิจารณาจากปฏิบัติการที่ขัดแย้งและการช่วงชิงทางวัฒนธรรมระหว่างการรักษาพื้นบ้านและการแพทย์สมัยใหม่ Whittaker ให้ความสำคัญต่อความรู้ของผู้หญิงในการดูแลร่างกายของตนโดยเฉพาะในเรื่องของมดลูก ระบบเลือดสุขภาพของช่องคลอด ความรับผิดชอบของผู้หญิงในการคุมกำเนิด การทำแท้ง ฯลฯ นับเป็นงานที่น่าสนใจที่ได้รับอิทธิพลของแนวคิดจากนักคิดสกุลหลังความทันสมัยอีกเรื่องหนึ่ง มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นการศึกษาปัญหาสุขภาพโดยศึกษาจาก Illness Experience งานชิ้นนี้เป็นงานวิทยานิพนธ์ของมาลี สิทธิเกรียงไกร ที่ศึกษาผลกระทบของการทำเหมืองแร่ตะกั่ว ซึ่งปล่อยสารตะกั่วจากโรงแต่งแร่ลงไปในลำน้ำที่ชาวกะเหรี่ยงที่ห้วยคลิตี้ กาญจนบุรี อาบกินเป็นประจำ งานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นอำนาจของความรู้ทางการแพทย์ ที่ใช้ในการนิยามความเจ็บป่วยและขอบเขตของความเจ็บป่วย (ระดับสารตะกั่วในเลือด) สาเหตุที่มาของโรค วิธีการรักษาพยาบาลของแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การเผชิญกับความทุกข์ทางสังคมของชาวบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ได้นำมาเสนอเป็นบทความในวารสารเล่มนี้ด้วย

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. 2549. “พหุลักษณ์ทางการแพทย์: มุมมองมานุษยวิทยากับความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพ”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บก.), พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)

ฉลาดชาย รมิตานนท. 2527. ผีเจ้านาย. กรุงเทพ: พายับออฟเซ็ทพรินท์

ชาติชาย มุกสง. 2549. “การแพทย์และการสาธารณสุขในประวัติศาสตร์นิพนธ์
ไทย: จากวาทกรรมชั้นนำสู่การโต้ตอบการครอบงำอำนาจ”, ใน โกมาตร
จึงเสถียรทรัพย์ (บก.), พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)

ทวีศักดิ์ เผือกสม. 2540. “การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำนาจของชนชั้นนำสยาม พ.ศ. 2325-2411”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธวัช มณีผ่อง. 2548. “กระบวนการสร้างความรู้ชายขอบในวิกฤตการณ์สุขภาพ:
กรณีศึกษาสำนักทรงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทานาเบ้, ชิเกฮาร. 2549. ชุมชนกับการปกครองชีวญาณ: กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ในภาคเหนือของไทย. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)

พัฒนา กิติอาษา. 2549. “ทรงเจ้าเข้าผีในวัฒนธรรมสุจภาพไทย”, ใน โกมาตร
จึงเสถียรทรัพย์ (บก.) พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)

มัลลิกา มัติโก. 2549. “การทำาศัลยกรรมใบหน้าของผู้หญิงไทย: ความงามกับ
การจัดการทางการแพทย์”, ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บก.)พหุลักษณ์
ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์กรมหาชน)

สุเทพ สุนทรเภสัช. 2511. “ความเชื่อเรื่อง ‘ผีปู่ตา’ ในหมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”,ใน สุเทพ สุนทรเภสัช (บก.),สังคมวิทยาของหมู่บ้านตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,139-165.

Brun, Viggo and Schumacher. 1987. Trond, Traditional Herbal Medicine in
Northern Thailand. Bangkok: White Lotus.

Golomb, Louis. 1985. An Anthropology of Curing in Multiethnic Thailand.
Urbana and Chicago: University of Illinois Press.

Irvine, Water. 1982. Northern Thai Madness and Nationalism. Doctoral
Dissertation, SOAS, University of London.

Kleinman, Arthur. 1995. Writing at the Margin: Discourse Between
Anthropology and Medicine. Berkeley: University of California Press.

Kleinman, Arthur, Das, Veena and Lock, Margaret (eds.). 1997. Social
Suffering. Berkeley: University of California Press.

Komatra Chuengsathiansup. 1998. Living on the Edge: Marginality and
Contestation in the Kui Communities of Northeast Thailand. Doctoral
Dissertation, Harvard University.

Lupton, Deborah. 1994. Medicine as Culture: Illness, Disease and the Body
in Western Societies. London: SAGE Publication.

Malee Sitthikriengkrai. 2007. Suffering, Healing, and the Contestation of
Power and Knowledge: a Case of Lead Contamination in Klity Lang
Village, Kanchanaburi Province. Ph.D. Dissertation, Mahidol University.

Mounge, Christine. 1975. An Ethnography of Reproduction: Changing Fertility Patterns in Northern Thailand. Doctoral Dissertation, SOAS, University of London.

Muecke, Majorie. 1976. Reproductive Success among the Urban Poor: A
Micro-Level Study of Infant Survival and Child Growth in Northern Thailand. Doctoral Dissertation, University of Washington.

Sasitorn Chaiprasit. 2008. The Body Concept in Northern Thai Healing: A
Case Study of Two Female Bone Healers. Doctoral Dissertation, Chiang
Mai University.

Scheper-Hughes, Nancy. 1992. Death without Weeping: The Violence of
Everyday Life in Brazil. Berkeley: University of California Press.

Strathern, Andrew and Stewart, Pamela J. 1999. Curing and Healing:
Medical Anthropology in Global Perspective. Durham, North Carolina:
Carolina Academic Press.

Tambiah, Stanley J. 1970. Buddhism and Spirit Cult in Northeast Thailand.
Cambridge: Cambrige University Press.

Wales, H.G.Q. 1933. “Siamese Theory and Ritual Connected with Pregnancy, Birth and Infancy”, Journal of the Royal Anthropological
Institute of Great Britain and Ireland., 63.

Wariya Siwasariyanon. 1984. The Transfer of Medical Technology from the
First World to the Third World: A Case Study of the Rockefeller
Foundation’s Role in a Thai Medical School (1923-1935). Doctoral
Dissertation, University of Hawaii.

Whittaker, Andrea. 2000. Intimate Knowledge: Women and their Health in
North-East Thailand. St. Leonard, Australia: Allen & Unwin.

Downloads

Published

2019-02-21

How to Cite

วรรธนะภูติ ชยันต์. 2019. “การเปลี่ยนผ่านและปัญหาที่ท้าทายของสังคมวิทยา-มานุษยวิทยาการแพทย์ไทย”. Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 20 (1):15-38. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/173771.