Vol. 20 No. 1 (2008): สถานการณ์สุขภาพใหม่: การท้าทายวิธีคิดและการศึกษาทางสังคมศาสตร์
การก่อกำเนิดของศาสตร์ทางสังคมและสุขภาพในไทยที่มีอายุกว่า 30 ปีน่าจะเป็นประเด็นที่นักสังคมศาสตร์สุขภาพนำมาใคร่ครวญถึงแนวทางและ “ที่ยืน” ของตนเองในพื้นที่การศึกษาเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซับซ้อน และไม่อาจคาดการณ์ทั้งในรูปแบบและทิศทางของการเปลี่ยนแปลง “สังคมศาสตร์สุขภาพ: การท้าทายวิธีคิดและแนวทางการศึกษา” จึงถูกกำหนดขึ้นเป็นหัวข้อ (theme) ของวารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้ ที่สะท้อนทั้งความหลากหลายในประเด็นการศึกษา ทฤษฎี และแนวทางในการอธิบายจากมุมมองของนักสังคมศาสตร์สุขภาพไทย ด้วยตระหนักว่าวารสารไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงการสะท้อนแนวทางที่เกิดขึ้นเท่านั้น วารสารยังมีหน้าที่ในการเสนอแนวทาง ประเด็นในการศึกษาใหม่ๆ ด้วย เช่นเดียวกับนักวิชาการที่ไม่ได้มีหน้าที่เพียงการพัฒนาศาสตร์เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของสาขาวิชาการของตน “If sociological work predominantly (and increasingly) tends to inform only the academic discipline, one begins to wonder whether sociologists are just talking to themselves” (Clair et al.: 2007: 249)