มานุษยวิทยาแนวอิสลาม: บทแนะนำและข้อถกเถียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศาสนาอิสลามในแนวทางมานุษยวิทยานั้นเป็นส่วนหนึ่งของมานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนา โดยทั่วไป นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจในรูปแบบของการทำความเข้าใจในสถาบันหรือโครงสร้างทางสังคม หรือมองศาสนาในฐานะที่เป็นวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยประมาณ ได้เกิดความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและมีความใกล้เคียงกับมานุษยวิทยาว่าด้วยอิสลาม (Anthropology of Islam) ซึ่งนั่นก็คือมานุษยวิทยาแนวอิสลาม (Islamic Anthropology) ในช่วงเวลาดังกล่าวปรากฏหนังสือและบทความที่น่าสนใจและทรงอิทธิพลอย่างมาก โดยนักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยามุสลิม คล้ายว่าเป็นการพยายามหาจุดที่ลงตัวระดับความรู้ระหว่างความรู้ทางอิสลามและความรู้แบบตะวันตก ควบคู่ไปกับการตอบให้ความรู้ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยคนตะวันตกหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ความรู้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มที่ไม่ได้เป็นมุสลิม
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์