การตั้งถิ่นฐานด้วยตนเองผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง: การลี้ภัยในการปกครองระดับท้องถิ่นและความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไข
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อถกเถียงในปัจจุบันเกี่ยวกับ “ผู้อพยพลี้ภัยที่เลือกตั้งถิ่นฐานด้วยตนเอง (Self-settled refugees) แสดงให้เห็นว่า การแสวงหาและการให้ที่ลี้ภัยมีหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดเฉพาะการให้การดูแลในระบบค่ายผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ดี เรายังมีความรู้ค่อนข้างจำกัดว่าการรับรองความปลอดภัย การคุ้มครอง และการเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยกลุ่มนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร บทความชิ้นนี้สำรวจว่าสภาพการอพยพลี้ภัย “นอกระบบกฎเกณฑ์ เชิงสถาบันที่เป็นทางการ” (Non-institutional) มีลักษณะอย่างไร โดยศึกษากรณีกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ พื้นที่เมืองแม่สอด ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของไทย การศึกษานี้เสนอว่าการทำความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองผู้อพยพลี้ภัยต้องให้ความสำคัญกับพลวัตความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเจ้าบ้านกับผู้อพยพลี้ภัย บทความนี้เสนอข้อสรุปว่า การเข้าถึงสิทธิพื้นฐานและการคุ้มครองผู้อพยพลี้ภัยนั้นอิงอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมเฉพาะท้องถิ่นและความเข้าใจร่วมในทางปฏิบัติระหว่างเจ้าบ้านคนไทยและผู้อพยพลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงรูปแบบทางเลือกในการอพยพลี้ภัยนี้ให้ความปลอดภัยและความคุ้มครองแก่กลุ่มผู้อพยพลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่เลือกตั้งถิ่นฐานด้วยตนเองและพร้อม ๆ กันนั้นก็ก่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไข
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์