การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด จังหวัดเลย

Main Article Content

Patthira Phon-ngam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด จังหวัดเลย (2) เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด จังหวัดเลย โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ (3) เพื่อนำรูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิดสู่การปฏิบัติ   เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม   โดยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เทคนิคการประชุมเพื่อระดมความคิด การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้สูงอายุในจังหวัดเลยที่รู้สึกตัวดีสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขและตัวแทนจากหน่วยงานราชการคือ จากเทศบาลเมืองเลย โรงพยาบาลเลยและสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย


            ผลการวิจัยมีดังนี้


  1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด จังหวัดเลย  พบว่ามีการดำเนินงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน ในด้านสุขภาพเท่านั้นมีการส่งเสริมการออกกำลังกาย  โดยมีการเต้นแอโรบิค การตรวจสุขภาพร่างกาย  ฟัน  ช่องปาก  ส่วนในด้านสังคมและวัฒนธรรม ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น เทศบาล  

  2. ผลการพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน  ได้ 4 รูปแบบคือ รูปแบบด้านสุขภาพ  ด้านจิตวิญญาณ ด้านเศรษฐกิจ  และด้านสังคม

  3. ผลการนำรูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด สู่การปฏิบัติโดยการดำเนินโครงการต่างๆ รวมทั้งสิ้น 13  โครงการ เป็นเวลา 6 เดือน

Article Details

How to Cite
Phon-ngam, P. (2019). การพัฒนารูปแบบส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนบ้านภูบ่อบิด จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 31(2), 82–105. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/191769
บท
บทความวิชาการ
Author Biography

Patthira Phon-ngam, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จ.เลย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จ.เลย 42000

References

กอบกิจ ตัณฑ์เจริญรัตน์ . (2536). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรทางสุขภาพเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กาญจนา พระสุทา .(2551).การศึกษาเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ตำบลหนองบ่อ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

จรัญญา วงษ์พรหม. (พฤษภาคม 2558).การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ.Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8( 3)

เจียรนัย ทรงชัยกุล. (2546). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต. นนทบุรี :สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธราธร ดวงแก้ว และหิรัญญา เดชอุดม .(2550). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ตําบลโพรงมะเดื่อ อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บรรลุ ศิริพานิช. (2543). การออกกําลังกายเพื่อสุขภาพสําหรับผ้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

นิวา อ้วนศิริ(2559).การพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ในบ้านแสงเจริญ ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). แนวโน้มประชากรโลก.กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

หทัย ชิตานนท์.(2552).การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่. ออนไลน์ เข้าถึงได้จาก
https://advisor.anamai.moph.go.th/213/21311.html.วันที่สืบค้น 2 ธันวาคม 2558

Burns, N. and Grove, S.K. (2005). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique and Utilization. 5th Edition, Missouri: Edition, Elsevier Saunders

Pender, J. ( 1996). Health Promotion in Nursing Practice. 2 nd ed. Los Angelis California: Apption and Lange, norwalk, connectial.

Translated Thai Bibliography
Bunlu Siripanich. (2543). Exercise for health. For the elderly. Bangkok: The Local Doctor.
Charanya Wwong Prom. ( May, 2015) .Community Participation in the Development of Older Persons’ Quality of Life. E-Journal, Silpakorn University. 8( 3)

Chearanai Songchaikul. (2003). Research for improving the quality of life of the aging in Thai society in physical health, mental health. Nonthaburi: Department of Education, Sukhothai Thammathirat University

Kanchana Phasuttha. (2551). A study on social participation of the aging in Nong Bo Subdistrict, Song Phi Nong District Suphanburi Province. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.

Kobkit Tancharoenrat (1993). The development of health personnel training courses to enhance the health of the elderly. Bangkok: Srinakharinwirot University ,Prasarnmit.

Hathai Chitanon, (2009). New health promotion. Retrieved Dec, 2009. from https://advisor.anamai.moph.go.th

Niva ouan siri (2014). Inovation development, promotion of the health of the elderly In Ban Saeng Charoen, Na Duang Subdistrict, Na Duang District, Loei Province.
Doctor of Philosophy Dissertation Loei Rajabhat University

National Statistical Office. (2012). World population trends. Bangkok: National Statistical Office.

Tharathorn Duangkaew and Hirunya Deth U –dom. (2550). Aging health behavior Tambon Mueang, Amphoe Mueang, Nakhon Pathom. Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.