Vol. 31 No. 2 (2019): ความหลากหลายกับนโยบายทางสังคม
คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะมองว่า สาเหตุของความเหลื่อมล้ําในสังคมไทย ท่ามกลางการเกิดขึ้นของสถานการณ์ความยากลำบากของคนกลุ่มน้อย (Minorities) คนด้อยโอกาส (Disadvantaged people) และหรือ คนที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิ และโอกาสที่พวกเขาต้องเผชิญกันอย่างหนักหน่วง เมื่อเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคม ว่าแท้จริงแล้ว โดยรากฐานของความเหลื่อมล้ำเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ เกิดขึ้นมาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power relations) ที่ถูกประกอบสร้างขึ้น ในสังคมไทย มาอย่างต่อเนื่องและโดยแยบยลทั้งสิ้น
ในขณะที่ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม (Multiculturalism) ทั้งใน รูปแบบต่างๆ รวมถึง อายุ เพศภาวะ สถานภาพสมรส ชนชั้น และหรือ ชาติพันธุ์ ฯลฯ ถูกพิจารณาและตระหนักถึง ทั้งในการกำหนดประเด็นทางสังคมเพื่อถกเถียง อภิปรายร่วมกันเพื่อหาข้อสรุปรวมถึงความพยายามจะจัดการกับประเด็นเหล่านั้น ในลักษณะของการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในหลายระดับ รวมถึงในระดับ ของการริเริ่มนโยบายทางสังคม (Social policy)