ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตีตราผู้หญิงพิการในการมีส่วนร่วมทางการเมือง

Main Article Content

Kachakorn Thaveesri

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การตีตราในผู้หญิงพิการกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง” ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะครอบคลุมความซับซ้อนและความหลากหลายของปรากฏการณ์ และประสบการณ์ในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงพิการ และการตีตรา/องค์ประกอบของการตีตราที่มีผลต่อผู้หญิงพิการแต่ละคนในการรับรู้ถึงประสบการณ์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงพิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นผู้นำ 10 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะคัดเลือกผู้นำในแนวคิดแบบใหม่ที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งในระยะ 6 เดือนที่ผ่านต้องมีการเข้าร่วมในเวทีสาธารณะหรือกิจกรรมทางการเมืองอย่างน้อย 1 ครั้ง ในงานวิจัยนี้ได้เลือกวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการมุ่งไปที่ประเด็นหลักที่ต้องการจะศึกษา คำถามปลายเปิดจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ร่วมการวิจัยเริ่มที่จะเล่าเรื่องเกี่ยวกับตนเอง และการใช้คำถามเพื่อขยายความและการให้กำลังใจด้วยคำพูด เป็นการเปิดโอกาสในการอธิบายเพิ่มเติมจากเรื่องราวเหล่านั้น อย่างไรก็ตามขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล จะทำโดยรอบคอบเพื่อป้องกันอคติ และจะนำเสนอข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้จากการบอกเล่าประสบการณ์ด้วยคำพูดหรือ “Quotation” โดยข้อค้นพบที่ได้นำมาซึ่งข้อมูลทำให้ทราบถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงพิการ เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมทางเมืองของผู้หญิงพิการ ความสัมพันธ์ระหว่างการตีตราทางเพศภาวะและความพิการกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงพิการ ตลอดจนแนวทางในการลดการตีตราต่อผู้หญิงพิการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงพิการ

Article Details

How to Cite
Thaveesri, K. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตีตราผู้หญิงพิการในการมีส่วนร่วมทางการเมือง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 31(2), 56–81. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/223012
บท
บทความวิชาการ

References

กมลพรรณ พันพึง. 2553. อัตลักษณ์ การเสริมพลังอำนาจ และการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง: การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรสงคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินพิมาน. 2551. ม่านแห่งอคติ: ความสัมพันธ์ระหว่างสตรีกับสถาบัน
สังคม. กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส.

จรัส ช่างเรือน. 2544. การยอมรับของชุมชนในบทบาททางการเมืองของกลุ่มแม่บ้านในอำเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์. 2555. ตันกับวิธีคิดที่ไม่เคยตัน. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

นภาพร นันเขียว. 2552. การศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนการศึกษาพิเศษที่เปิดสอนนักเรียนพิการ 2 ประเภท สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ, มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม).

นฤมล โยคานุกุล. 2556. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นโรดม อินต๊ะปัน. 2553. โอกาสของคนพิการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิติกรณ์ วงค์ชัย. 2538. การออกแบบและสร้างรถไฟฟ้าราคาประหยัดสำหรับคนพิการ. รายงานผลการวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปรานี วงษ์เทศ. 2544. เพศและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

วรากรณ์ สามโกเศศ. 2558. โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ภาค 5 ถูกสุดคือแพงสุด (พ.5). ม.ป.ท: มติชน.

วันทนี วาสิกะสิน และสุนีย์ เหมาะประสิทธิ์. 2551. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมสังคม
สงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี ภูริรินสินสิทธิ์. 2545. สตรีนิยม ขบวนการและแนวคิดทางสังคมศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20.
กรุงเทพฯ: คบไฟ.

สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. 2560. โฉมหน้า
สตรีไทยยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา. 2530. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: พีเพรส.

สุธีรา ทอมสัน และเมทนี พงษ์เวช. 2538. ประเด็นบทบาทหญิงชายและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา.

อรรถวิท ชื่นจิตต์. 2557. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการ
ปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้า
อิสระ บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อุบลพันธ์ ธีระศิลป์ และเพ็ญจันทร์ เซอร์เรอร์. 2553. ความพิการแนวคิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์
สุขภาพ. หลักสูตรสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (รายงานผลการวิจัย) ม.ป.ท: ม.ป.พ.

อาทิตย์ บุญหนู. 2553. การจัดสรรโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลสำหรับผู้พิการ ในจังหวัดเชียงใหม่. การ
ค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาอาชีวศึกษา ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Beauvior, S.D. 1953. The Second Sex. Translated and Edited by H.M. Parshley New. York: Vintage
Books.

Crocker, J., & Major, B. C. 1998. Social Stigma Steele. In S. Fiske, D. Gilbert, & G. Lindzey (Eds.),
Handbook of Social Psychology. Boston, MA: McGraw-Hill.

Davis, A. Y. 2004. Mujeres, Raza y Clase, translated by A.V. Matos, Madrid, Akal Ediciones.
Np: np.

Emirbayer, M. and Mische, A. 2015. What is Agency. American Journak of Sociology. Retrieved
from https://www.jstor.org/stable/10.1086/231294. (18 September, 2017)


Gaertner, S. L., & McLaughlin, J. P. 1983. Racial stereotypes: Associations and ascriptions of
positive and negative characteristics. Social Psychology Quarterly, 46, 23-30.
doi:10.2307/3033657

Kevin Winter. 2015. “Rose Siggins, Actress on ‘American Horror Story,’ Dies at 43”. The
New York Times. Retrieved from https://www.nytimes.com/2015/12.

Majiet, S. and Africa, A. 2015. Women with disabilities in leadership: The challenges of patriarchy, Agenda. Empowering women for gender equity ,29:2, 101-111.Plessis, I. G. (2007). African women with disabilities: The victims of multilayered discriminations. SA Public Law, Vol 22.

Thomson, R. G. 2002. Integrating Disability, Transforming Feminist Theory. NWSA Journal. 14.
1-32. 10.1353/nwsa.2003.0005.