“ในระบบ” หรือ “นอกระบบ”: พลวัตและความกำากวมของการค้าชายแดนในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว

Main Article Content

พฤกษ์ เถาถวิล
เนตรดาว เถาถวิล

บทคัดย่อ

การค้าชายแดนนอกระบบ เป็นสิ่งที่รัฐเห็นว่าเป็น “เศรษฐกิจที่บ่อนทําลายระเบียบการปกครองของรัฐ” (subversive economy) รัฐจึงแสดงทาทีอย่างขึงขังจริงจังที่จะขจัดการค้าชายแดนนอกระบบให้หมดไป กระนั้นก็ดี การค้าชายแดนนอกระบบยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย บทความนี้ตั้งคําถามกับการแบ่งแยกระหว่าง การค้าชายแดน “ในระบบ” และ “นอกระบบ” ว่าทําได้จริงหรือ และรัฐ ต้องการจะขจัดสิ่งที่เรียกว่าการค้าชายแดนนอกระบบให้หมดไปจริงหรือไม่บทความวิจัยนี้นําเสนอกรณีศึกษาพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ด้านจังหวัดอุบลราชธานีโดยแสดงให้เห็น พลวัตการค้าชายแดนจากอดีตถึงปัจจุบัน การอภิปรายเนื้อหาอาศัยกรอบแนวคิดเรื่องพื้นที่ชายแดน (borderland) ซึ่งเป็นการมองความเปลี่ยนแปลงที่ชายแดนอย่างเป็นวิภาษวิธี ระหว่างอํานาจจากรัฐส่วนกลางกับอํานาจจากท้องถิ่น บทความเสนอว่าการค้าชายแดนมีพลวัตและความกํากวมอย่างสูง ดังเห็นได้จากปฏิบัติการทางการค้าของผู้ค้าชายแดนที่ทําให้การค้าการค้าชายแดนกับความมั่นคงของมนุษย์ ชายแดน “ในระบบ” และ “นอกระบบ” เกิดขึ้นโดยแบงจากกันได้ยาก และเป็นการค้าที่หนุนเนื่องผสมผสานกัน (intertwine) บทความได้ชี้ให้เห็นปัญหาการนิยามการค้าชายแดนของรัฐ ที่ลดทอนความซับซ้อน และมองการค้าชายแดนในลักษณะหยุดนิ่ง รวมทั้งแสดงให้เห็นข้อจํากัดของวิธีคิดที่มีทัศนะแบบยึดรัฐชาติเป็นศูนย์กลาง และเป็นอุปสรรคต่อการทําความเข้าใจพลวัตและความซับซ้อนของการค้าชายแดน

Article Details

How to Cite
เถาถวิล พ., & เถาถวิล เ. (2018). “ในระบบ” หรือ “นอกระบบ”: พลวัตและความกำากวมของการค้าชายแดนในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 30(2), 53–96. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/163408
บท
บทความวิชาการ