การย้ายถิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ: การเปลี่ยนแปลงชีวิตจากชนบทเข้าสู่เมือง

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ
ดุษฎี อายุวัฒน์
เสาวลักษณ์ ชายทวีป

บทคัดย่อ

ในศตวรรษที่ 21 เกือบทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับการกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุและการขยายตัวของความเป็นเมือง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้สูงอายุที่ย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมือง การศึกษานี้ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยมีเขตเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ในการศึกษา ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้สูงอายุที่ได้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในเขตเมืองไม่น้อยกว่า 6 เดือน จํานวน 16 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงเดือนสิงหาคม 2560 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองเป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทายในการดําเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ 1) ความใกล้ชิดและความสุขที่อยู่กับลูกหลาน 2) ความรู้สึกมั่นใจว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งในช่วงปลายของชีวิต 3) การเข้าถึงการบริการทางสุขภาพที่ดีและโอกาสทางเศรษฐกิจ และ 4) การเรียนรู้ของผู้สูงอายุย้ายถิ่นที่จะจัดวางความสัมพันธ์ให้เข้ากับสมาชิกในเขตเมือง อย่างไรก็ตามการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองของผู้สูงอายุย่อมทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ อาจจะต้องพิจารณาว่าการย้ายถิ่นสามารถสร้างความสุขความเป็นอยู่ที่ดีและช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ดูแลจัดการตนเองได้

Article Details

How to Cite
ทองศรีเกตุ อ., อายุวัฒน์ ด., & ชายทวีป เ. (2019). การย้ายถิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ: การเปลี่ยนแปลงชีวิตจากชนบทเข้าสู่เมือง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 29(2), 103–134. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/165272
บท
บทความวิชาการ