การเมืองภาคประชาชนในสังคมไทย ก่อนและหลังทศวรรษ 2540: อุดมการณ์ ความสัมพันธ์ต่อรัฐ และความเป็นพลเมือง

ผู้แต่ง

  • มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

บทความนี้สำรวจวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมืองภาคประชาชนตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึงปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับอุดมการณ์ ความสัมพันธ์ต่อรัฐและความเป็นพลเมือง ผู้เขียนพบว่า การเมืองภาคประชาชนตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เติบโตมาพร้อมกับกรอบคิดแบบวัฒนธรรมชุมชน จนกลายเป็นการเมืองภาคประชาชนแนวชุมชนนิยมที่มีการก่อรูปเปลี่ยนร่างกรอบคิดแตกต่างกัน เช่น อ้างอิงกับชุมชนชาตินิยม-ราชาชาตินิยม ในขณะบางกลุ่มอ้างอิงความอยุติธรรมและโอกาสทางสังคมที่เปลี่ยนไป ด้านความสัมพันธ์กับรัฐมีแนวโน้มจากด้านรัฐเป็นร่วมมือกับรัฐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มอำนาจใดเป็นผู้ได้อำนาจรัฐ ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการเมือง ว่าด้วยการเมืองภาคประชาชน แต่ถึงกระนั้นการศึกษาที่ผ่านมาไม่ได้สะท้อนให้เห็นพลวัตพัฒนาการการเมืองภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ในบริบททางประวัติศาสตร์ที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างแตกต่างหลากหลาย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-17

How to Cite

พงษ์นิล มนตรา. 2019. “การเมืองภาคประชาชนในสังคมไทย ก่อนและหลังทศวรรษ 2540: อุดมการณ์ ความสัมพันธ์ต่อรัฐ และความเป็นพลเมือง”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 28 (1):155-85. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/178039.

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ