“ความหวัง”: ข้อถกเถียงทางปรัชญาและมานุษยวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อทบทวนแนวคิดทฤษฎีทางปรัชญาและมานุษยวิทยาที่ศึกษา “ความหวัง” ในฐานะเป็นวิธีวิเคราะห์สังคมและตัวตนของมนุษย์ เนื่องจากสังคมโลกที่วุ่นวายและขัดแย้งในปัจจุบันเริ่มมีการถกเถียง แสวงหา และอภิปรายความหวังกันอย่างกว้างขวาง จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจข้อถกเถียงและแนวทางการศึกษาที่ผ่านมา ในบทความนี้เลือกการศึกษาทางปรัชญาและมานุษยวิทยาเป็นตัวอย่าง เพื่อชี้ให้เห็นความเหมือนและความต่างในการอธิบายความหวัง โดยพบว่าแนวคิดทางปรัชญาจะศึกษา “ความหวัง” ในฐานะเป็นระบบคุณค่าทางสังคม ส่วนการศึกษาทางมานุษยวิทยาจะศึกษา “ความหวัง” ที่ดำรงอยู่ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม การศึกษาทั้งสองศาสตร์นี้มีจุดร่วมที่คล้ายกันนั้นคือความหวังของมนุษย์เป็นประสบการณ์ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกและความต้องการที่จะเดินไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์