บนเส้นทางหวนสู่ชีวิตปรกติ: โลกชีวิตและการผลิตสร้างความเป็นตัวตนของผู้อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้พยายามศึกษาการดิ้นรนเพื่อกลับสู่การใช้ชีวิต ‘ปรกติ’ ของผู้อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้า ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ความเจ็บป่วยของคู่สนทนาจำนวน 6 คน ด้วยการประยุกต์ใช้มโนทัศน์ ‘เทคโนโลยีแห่งอำนาจ’ (technologies of power) และ ‘เทคโนโลยีการบ่มเพาะตัวตน’ (technologies of the self) ของมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นกรอบในการทำความเข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลของปฏิบัติการทางอำนาจของจิตเวชศาสตร์และวิธีการต่อสู้ดิ้นรนของผู้อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้ากับโครงสร้างอำนาจ ซึ่งมีเรือนร่างของผู้ป่วยกลายเป็นอาณาบริเวณของปฏิบัติการแห่งอำนาจและการประกอบสร้างตัวตน ที่ในด้านหนึ่ง ปฏิบัติการแห่งอำนาจของจิตเวชศาสตร์ที่พยายามผลิตสร้าง ‘ตัวตนที่เชื่องเชื่อและคิดบวก’ (positve-docile subject) หวังเพื่อบำบัด แก้ไข และฟื้นฟูตัวตนให้ผู้อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้ากลับมามีผลิตภาพและมีเจตคติที่สอดรับกับอุดมการณ์และบรรทัดฐานกระแสหลักของสังคมอีกครั้ง ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง ผู้อยู่ร่วมกับโรคซึมเศร้าก็มิได้เป็นเพียงผลผลิตหรือผู้ถูกกระทำจากอำนาจทางจิตเวชศาสตร์และโครงสร้างอำนาจที่มากระทำต่อพวกเขา หากแต่พวกเขาได้ฉวยใช้วาทกรรมครอบงำต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า ความเป็นแม่ ความเชื่อบาป-บุญ มาบ่มเพาะและประกอบสร้างตัวตน ในฐานะเทคนิควิธีในการประนีประนอม ต่อรอง และปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ หวังเพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตและมีสุขภาวะทางจิตที่ ‘ปรกติ’ อีกครั้ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์