ปรากฏการณ์ความสิ้นหวังของนักเรียนยากจน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา

Main Article Content

ศานิตย์ ศรีคุณ
จุฑามาศ มาณะศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความสิ้นหวังจากการเรียนรู้ของนักเรียนยากจนตามแนวทางปรากฎการณ์วิทยา โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อให้ได้ประสบการณ์ตรงและข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ในปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นนักเรียน จำนวนรวมทั้งสิ้น 4 คน และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) ร่วมกับการสังเกตปรากฏการณ์ในพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ส่วนบุคคล แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกภาคสนามและเครื่องบันทึกเสียง โดยวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดองค์ประกอบความสิ้นหวังของ Seligman ผลการวิจัยพบว่า ลักษณความสิ้นหวังของนักเรียนยากจนมีลักษณะ ดังนี้ 1) ความด้อยทางปัญญา ได้แก่ ด้อยค่าความสามารถ 2) ความด้อยทางแรงจูงใจ ได้แก่ 2.1 ช่วงถดถอย 2.2 พฤติกรรมจำเจ 2.3 สังคมกลั่นแกล้ง และ3) ความด้อยทางอารมณ์ ได้แก่ 3.1 ภาวะจิตใจต่ำต้อย 3.2 การระบายออกทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังพบมิติฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม อีกปัจจัยสำคัญนำไปสู่การเกิดความสิ้นหวังทางการเรียนรู้ของนักเรียนยากจน มากไปกว่านั้น จากการวิจัยในครั้งนี้พบประสบการณ์ความสิ้นหวังของนักเรียนยากจน ดังนี้ 1) ประสบการณ์การเป็นหย่าร้างของพ่อกับแม่ 2) ประสบการณ์ผู้ปกครองในครอบครัวติดการพนันและสารเสพติด 3) ประสบการณ์การสูญเสียผู้นำหรือเสาหลักของครอบครัว 4) ประสบการณ์ถูกบังคับ จากที่กล่าวมาชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้สึกขาดแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากครอบครัวในด้านทุนทรัพย์ ขาดความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ รวมไปถึงด้านมุมมองของผู้ปกครองต่อการศึกษาของนักเรียน จึงส่งผลกระทบต่อแนวคิด รู้สึกตนเองด้อยความสามารถ และเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในการดำเนินชีวิต ยิ่งกว่านั้นคือไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ในการศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษา ครูหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรเข้าใจและรู้จักนักเรียนรายบุคคลอย่างลึกซึ้ง พร้อมทั้งเปิดโอกาสและสนับสนุนให้นักเรียนมีพื้นที่ได้แสดงออกถึงความสามารถ นอกจากนี้ครูเป็นสื่อกลางสำคัญอย่างยิ่งที่จะคอยช่วยเหลือ สร้างพื้นที่แห่งความอบอุ่นใจ และสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงปลูกฝังทัศนคติและสร้างมุมมองการมองโลกในแง่ดีให้กับนักเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพและทำคุณประโยชน์สู่สังคมต่อไป

Article Details

How to Cite
ศรีคุณ ศ., & มาณะศิลป์ จ. (2024). ปรากฏการณ์ความสิ้นหวังของนักเรียนยากจน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 36(2), 124–163. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/272317
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2542. คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

กรมศาสนา.

______________. 2542. แนวคิดและนโยบายการทรวงศึกษาธิการพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาเพื่อ ประชาชน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

______________. 2542. แนวทางการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว.

กัลยรัตน์ กล่ำถนอม. 2547. “การพัฒนาศักยภาพคนจนเมืองในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2547-2557).”

วิทยานิพนธ์. ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จำเนียร์ สตารเขต. 2541. “การศึกษาภูมิหลังทางครอบครัว สภาพปัญหา และสาเหตุของนักเรียนที่เข้ารับ

การปรึกษาในโครงการโรงเรียนตัวอย่าง ทางสุขภาพจิต ศูนย์สุขวิทยาจิต.” กรุงเทพฯ : ศูนย์สุขวิทยา จิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. 2560. “การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ: ระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพสำหรับการวิจัยทางด้านจิตวิทยา.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 28 (3): 1- 13.

ชาย โพธิสิตา. 2550. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง

แอนด์พับลิชชิ่ง.

ชูชิต ชายทวีป. 2559. “ปัจจัยสำเร็จของการลดปัญหาความยากจน.” วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ

มหาวิทยาลัยมหิดล 3 (2): 188-214.

ฐิติมา วัฒนจัง. 2556. แนวทางการบรรเทาความยากจนของเกษตรกร โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง :

กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ:สำนักงานการ.

ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

ทิพวัลย์ สุทิน. 2542. การเสริมสร้างและพัฒนา EQ. ใน เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องความเฉลียว ฉลาดทางอารมณ์, กรุงเทพฯ : สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

ธนพล สราญจิตร์. 2558. “ปัญหาความยากจนในสังคมไทย.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 5 (2): 12-21.

นิษา สมานทรัพย์ และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. 2555. “ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสิ้นหวังใน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ.” วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 26 (3): 57-70.

เบญญพร บรรณสาร. 2561. “ความสิ้นหวังของผู้รอดชีวิตจากมะเร็ง.” วารสารการพยาบาลจิตเวชและ สุขภาพจิต 32 (2): 1-12.

ปฏิพร เมฆรา. 2552. “ผลของการปรึกษาโดยการอธิษฐานแบบฟังตามความเชื่อทางคริสตศาสนาต่อ ความรู้สึกสิ้นหวัง.” เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:110825

พัฒนโชค ชูไทย. 2563. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียนในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา อาแว. 2560. “ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสิ้นยินดีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เขตภาคใต้.” วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา เจียรพันธุ์. 2549. “ปัญหาความยากจนในเกษตรกรไทย.” วารสารเพื่อการพัฒนาชนบทธนาคารเพื่อ

การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 9 (6): 87-116.

วิสสุตา นาโสก, ศานิตย์ ศรีคุณ. 2566. หลักสูตรแฝงว่าด้วยเรื่องกลวิธีการตีตราตนเองของนักเรียนใน สถานศึกษาขนาดเล็ก : การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 16 (2): 50-76. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2567. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/issue/view/17739

สุพนิดา จิระสินวรรธนะ. 2565. “ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุพิชชา โชติกำจร. 2564. “การศึกษาภาวะความยากจนและปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนในประเทศไทย.” วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ 23 (2): 63-71.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. ดัชนีความก้าวหน้าของคนปี

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2566. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความ ยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2566. การศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความยากจนหลายมิติ. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัญญา ปลดเปลื้อง. 2556. “การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปรากฏการณ์วิทยา.” วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข 23 (2): 1-10.

อารีย์วรรณ อ่วมตานี. 2559. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Beck, A. T. 1967. Depression: Clinic, experimental, and theoritical aspects. New York:

Hoeber Medical Devision.

Colaizzi P. 1978. Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential – Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), Oxford University Press, London,48-71.

Corrigan, P. 2004. “How stigma interferes with mental health care. American Psychologist,” 59 (7): 614–625. https://doi.org/10.1037/0003-066X.59.7.614. February 25, 2024.

Ellis, F. 2000. “Rural Livelihood Diversity in Developing Countries: Analysis, Method.”

Policy. Oxford University Press.

Goffman, E. 1963. Stigma. Notes on the Management of Spoiled Identity. London: Penguin Books.

Gumus, A. B., Cam, O., & Malak, A. T. 2011. Relationships between psychosocial

Adjustment and hopelessness in women with breast cancer. Asian Pacific

Journal of Cancer Prevention.

Heidegger M. Being and Time (MacQuaeeie J. & Robinson E. trans). Harper & Row, New

York. 1962.

Husserl E. Phenomenology and the Crisis of Philosophy (Lauer Q. trans.). Harper & Row,

New York. 1965.

Lindholm, L., Holmberg, M., & Makela, C. 2005. “Hope and hopelessness.” International

Journal for Human Caring 9 (4): 33-38.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. 1999. “Nursing research principles and methods.” Phyladelphia.

Lippincott Williams and Wilkins.

Phothisita, C. 2007. “Science and Art of Qualitative Research.” 3rd ed. Bangkok: Amarin

Printing & Publishing Public (Company Limited). (in Thai).

Roger Hallowell. 1996. “The Relationship of Customer Satisfication, Customer Loyalty, and Profitability: an empirical study.” International Journal of Service Industry Management.

Seligman, M. E. P., and Csikszentmihalyi, M. 2000. “Positive psychology.” An introduction.

American Psychologist.

Shives, L. R., & Isaacs, A. 2002. Basic concept of psychiatric-mental health nursing (5th

ed.). Philadelphia: Lippincott.

Streubert, H.J., and Carpenter, D.R. 1995. “Qualitative Research in Nursing.” Philadelphia J.B. Lippincott Company.

Tai, T., & Treas, J. 2009. “Does household composition explain welfare regime poverty risks for older adults and other household members.” Journals of Gerontology Social Sciences 64B (6): 777–787.