ระบบทุนนิยมของลัทธิพิธีความเชื่อ: กรณีศึกษาเทวาลัยจักรพรรดิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการอธิบายให้เห็นว่าลัทธิพิธีความเชื่อทางศาสนาในระบบทุนนิยมในสังคมไทยดำรงอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์ทางจิตใจและความรู้สึกของผู้นำพิธีและกลุ่มลูกศิษย์ โดยศึกษาจากพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในเทวาลัยจักรพรรดิของอาจารย์เอ จักรพรรดิ นักธุรกิจที่เปลี่ยนสถานะตนเองมาเป็นผู้นำพิธีกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล ผู้ศึกษาโต้แย้งว่าการอธิบายระบบทุนนิยมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาไม่สามารถพิจารณาได้จากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และพฤติกรรมผู้บริโภคแบบตรงไปตรงมาได้ แต่ควรพิจารณาในเรื่องความสัมพันธ์ทางใจที่มนุษย์มีต่อกัน โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่อง “อำนาจในตัวเชิงสัมพัทธ์” (relative autonomy) และ “ตัวตนที่โยงใยเข้าหากัน”(intersubjectivity) ของ Frances Morphy and Howard Morphy (2017) มาช่วยอธิบายและเปิดเผยให้เห็นว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำพิธีกรรมและลูกศิษย์ร้อยรัดเข้าหากันจนทำให้เกิดการเคารพนับถือ ความเลื่อมใสและความศรัทธาที่แสดงออกในพิธีกรรมและการบูชาวัตถุมงคลที่ให้โชคลาภ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ทุนนิยมของลัทธิพิธีความเชื่อขยายตัวในสังคมไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์