Aesthetic Constructions of Korean Nationalism : Spectacle, Politics and History
Main Article Content
Abstract
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมบทความทางวิชาการของฮงคาล (Hong Kal) ซึ่งในปัจจุบัน (ข้อมูลที่ปรากฏ ในหนังสือ) เป็นรองศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาทัศนศิลป์ (Visual Arts Aesthetic Constructions of Korean Nationalism: spectacle, politics and history. (Asia’s Tranformations). By Hong Kal. London; New York: Routhedge, 2011. xix, 164 pp. (Figures). ISBN 978-0-415-85752-9. Department) มหาวิทยาลัยยอร์ค (York University) จุดประสงค์ของหนังสือเล่มนี้โดยภาพรวมนั้น คาลมุ่ง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการจัดงานเอ็กซ์โป (exposition) การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ และการจัด สิ่งแวดล้อมเมืองในคาบสมุทรเกาหลีนับตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึงปัจจุบันโดยญี่ปุ่น หรือกล่าวอีก นัยหนึ่งคือเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวในช่วงสมัยอาณานิคมมาจนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดที่อยู่เบื้อง หลังที่สำคัญที่คาลคน้ พบและใช้เป็นข้อเสนอในการอธิบายบทความชุดนี้คือ “ชาตินิยมทางชาติพันธุ์” (ethnic nationalism) อันถือเป็นผลผลิตทางความคิดหนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของเกาหลีนั่นเอง โครงสร้างของหนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยบทความทั้งหมด 6 บทความ โดยคาลได้แบ่งการนำเสนอ บทความทั้งหมดนี้ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนแรกจะเป็นการกล่าวถึงการจัดงานเอ็กซ์โป (exposition) ของญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นการเฉพาะ กล่าวคือ บทความแรกจะเป็นการ วิเคราะห์การจัดงานเอ็กซ์โปครั้งแรกของญี่ปุ่นในคาบสมุทรเกาหลีในปี 1915 บทความที่สองจะเป็นการ วิเคราะห์การจัดงานเอ็กซ์โปครั้งที่สองของญี่ปุ่นในปี 1929 ซึ่งทั้งการจัดงานทั้งสองนี้ คาลได้อธิบายความ แนวคิดเบื้องหลังการจัดงานที่มีความแตกต่างกันอันนำไปสู่รายละเอียดและเนื้อหาของงานเอ็กซ์โปทั้งสองที่นำเสนอในพื้นที่สาธารณะมีความแตกต่างกันตามไปด้วย ส่วนบทความสุดท้ายในส่วนแรกนี้ คาลได้วิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงทางด้านการวางผังเมืองอันเป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการจัดงานเอ็กซ์โปทั้งสองครั้งดังที่ได้กล่าว มาแล้ว โดยเน้นการพิจารณา 4 ประเด็นปลีกย่อยที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิทัศน์และลักษณะ กายภาพของพระราชวังคยองบก (Gyeongbok Palace) การวางผังเมืองในกรุงโซล การปรากฏของถนนและ รถยนต์ และการใช้รถไฟ