Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
Articles submitted for publication must be originals that have not been previously published in any journal and are not being considered by another journal.
As for the process of submitting the article, the author must submit the manuscript. The format of the article must be in accordance with the criteria for preparing the manuscript specified by the journal, including checking the spelling accuracy.
The original article submitted to the system must be in Microsoft Word format only. The author must format and use the font “TH Niramit AS”, size 15 pt. (See the sample template in Download File).
Academic or Research Articles The length of the book must not exceed 25 pages (including references)The length must not exceed 15 pages (including references), with the instructions for preparing the manuscript already followed.
Details of all authors must be provided, including an e-mail address and a telephone number where they can be easily contacted.
The references that come from the Internet and are cited in the article must have a valid and accessible URL.
คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
คำแนะนำทั่วไป
บทความที่เขียนต้องเป็นไปตามรูปแบบวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Template (บทความวิจัย) / Template (บทความวิชาการ)
บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง
หากกองบรรณาธิการตรวจพบข้อผิดพลาด หรือ ความไม่สมบูรณ์ในรูปแบบของบทความ บทความนั้นจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียน เพื่อทำการแก้ไขบทความ ในกรณีที่จัดเตรียมถูกต้องตามระเบียบการตีพิมพ์และมีความสมบูรณ์ของรูปแบบจะถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาคุณค่าและความสมบูรณ์ของเนื้อหาบทความดังกล่าวต่อไป
บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิตามขั้นตอนที่กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กำหนดไว้
วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร กำหนดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินคุณภาพบทความ (Peer review) บทความละ 3 ท่าน โดยมีการใช้ระบบที่ผู้ประเมินและผู้เขียนบทความต่างไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double-blind peer review) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการประเมิน ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินคุณภาพบทความ ต้องไม่อยู่ในสังกัดหรือหน่วยงานเดียวกัน
ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
บทความที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ประเมินบทความแล้วหากไม่สามารถตีพิมพ์ได้ทัน ในฉบับปัจจุบัน กองบรรณาธิการจะนำบทความตีพิมพ์ในฉบับต่อไป โดยพิจารณาตามลำดับของการส่งบทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาบทความ
บทความที่ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้
กองบรรณาธิการจะแจ้งให้กับผู้เขียนบทความได้ทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความที่เรียบร้อยและสมบูรณ์
กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นว่าควรรับไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกรองบทความต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าเหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ เป็นการประเมินบทความแบบสองทาง (Double-blind peer review) กล่าวคือ มีการใช้ระบบที่ผู้ประเมินและผู้เขียนบทความต่างไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย และเพื่อป้องกันการมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการประเมิน ผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินคุณภาพบทความ ต้องไม่อยู่ในสังกัดหรือหน่วยงานเดียวกัน นอกจากนี้ กองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้เขียนบทความและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้อื่นทราบด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วารสารจะใช้เกณฑ์ในการประเมิน โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน 2 ใน 3 เสียง
ผู้เขียนบทความต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนดและต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งถือเป็นที่สิ้นสุด
ประเภทของบทความ
บทความวิจัย (Research Paper) เป็นบทความที่เกิดจากการวิจัยของผู้เขียนหรือสมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐานของงานวิจัย ขอบเขตที่ครอบคลุมในการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย (ประกอบด้วยข้อมูลประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ ในกรณีงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรมวิจารณ์หรือวรรณคดีเปรียบเทียบ ตลอดจนสาขาวิชาในด้านมนุษยศาสตร์อื่นๆ จะต้องระบุวิธีการวิจัยอันสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของตนอย่างชัดเจน) ผลการวิจัย (สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ) ความยาวไม่เกิน 25 หน้า
บทความวิชาการ (Review Paper) เป็นบทความทางวิชาการที่นำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย ความนำ เนื้อเรื่อง ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประเด็นย่อย และบทสรุป ความยาวไม่เกิน 25 หน้า
บทปริทัศน์ หมายถึง บทความวิชาการที่เขียนขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องมีการวิพากษ์และแสดงความคิดเห็นในเชิงวิชาการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง บทคัดย่อหรือเรื่องย่อ คำนำ เนื้อเรื่อง และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 15 หน้า
บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หมายถึง งานเขียนขนาดสั้นที่ทำการสรุปข้อโต้แย้งหลักๆ (Debates) ของหนังสือ 1 เล่ม (หรือหลายเล่มประกอบกัน) รวมถึงอาจจะมีการเสนอแนะว่าหนังสือเล่มนั้นๆ มีจุดเด่น/จุดด้อยอย่างไร ทั้งในเชิงทฤษฎี/ข้อมูล/ข้อค้นพบ และกลุ่มผู้อ่านที่น่าจะได้ประโยชน์จากหนังสือนั้น ความยาวไม่เกิน 15 หน้า
รูปแบบการอ้างอิง
ดาวน์โหลด : รูปแบบการอ้างอิง [PDF]
วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้ระบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมของ APA (American Psychology Association) ฉบับพิมพ์ครั้งที่6 โดยแบ่งรูปแบบการอ้างอิงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (author-date citation system) โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง ทั้งนี้ ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ( , ) รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหามี ดังนี้
1.1 แหล่งข้อมูลเป็นภาษาไทยให้ระบุชื่อของผู้แต่งเท่านั้น ส่วนแหล่งข้อมูลเป็นภาษาต่างประเทศให้ระบุนามสกุลของผู้แต่งเท่านั้น
1.2 ผู้แต่ง 2 คนให้ใช้คำเชื่อม “และ” ระหว่างชื่อผู้แต่งสำหรับแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทย ส่วนแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “and” หรือเครื่องหมาย “&”
1.3 ผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อผู้แต่งสองคนแรก และใช้คำว่า “และ” หรือ “&” แล้วแต่กรณี คั่นระหว่างผู้แต่งคนที่สองกับคนที่ 3
1.4 ผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ” ในแหล่งข้อมูลภาษาไทย หรือ “et al.” ในแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษ
1.5 ปีที่พิมพ์ แหล่งข้อมูลภาษาไทย ให้ระบุ ปี พ.ศ. สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษให้ระบุปี ค.ศ. ทั้งนี้ ให้ระบุเพียงตัวเลข และใช้ปีพิมพ์ครั้งล่าสุด
1.6 หน้าที่อ้าง แหล่งข้อมูลภาษาไทยให้ใช้คำว่า “น.” สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาต่างประเทศ ให้แทนคำว่า “หน้า” ด้วย p. ในการอ้างเอกสารหน้าเดียว และ pp. ในการอ้างเอกสารมากกว่าหนึ่งหน้า
1.7 ในการอ้างเอกสารอ้างอิงแทรกในเนื้อหาโดยที่ไม่ใช้เอกสารต้นฉบับ ให้ระบุชื่อเอกสารต้นฉบับและคำว่า “อ้างอิงใน” สำหรับแหล่งข้อมูลเป็นภาษาไทย หรือ “as cited in” สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาต่างประเทศ
การอ้างอิงท้ายบทความ (References)
2.1 ผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ( , ) ระหว่างชื่อผู้แต่งและใช้คำเชื่อม “และ” ระหว่างชื่อผู้แต่งสำหรับแหล่งข้อมูลที่เป็นภาษาไทย ส่วนแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษเครื่องหมายจุลภาคคั่น ( , ) ระหว่างชื่อผู้แต่งและใช้เครื่องหมาย “&” เชื่อมระหว่างชื่อผู้แต่ง
2.2 ผู้แต่ง 3 คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อผู้แต่งสองคนแรก และใช้คำว่า “และ” หรือ “&” แล้วแต่กรณี คั่นระหว่างผู้แต่งคนที่สองกับคนที่ 3
2.3 ผู้แต่ง 3-7 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคนโดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ( , ) และเชื่อมด้วยคำว่า“และ” ตามด้วยชื่อผู้แต่งคนสุดท้ายในเอกสารภาษาไทย ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษให้เชื่อมด้วยเครื่องหมาย “&” ตามด้วยชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย
2.4 ผู้แต่ง 8 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1-6 โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น ( , ) ตามด้วย.ผู้แต่งคนสุดท้าย
2.5 เอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้ใส่ทุกรายการของเอกสารที่อ้างอิงเป็นภาษาไทยโดยเรียงลำดับตามตัวอักษร ก – ฮ
2.6 เอกสารอ้างอิงภาษาไทย ให้ผู้เขียนแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษด้วย โดยแยกออกมาต่อท้ายกับของการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย ภายใต้หัวข้อ Translated Thai References และเรียงตามตัวอักษรตามหลักบรรณานุกรมปกติ และเติมคำว่า “[in Thai]”
2.7 เอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ ให้ใส่ทุกรายการของเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษโดยเรียงลำดับตามตัวอักษร A – Z
2.8 บรรณานุกรมที่มีชื่อผู้แต่งคนเดียวกัน และจัดพิมพ์ปีเดียวกันในเอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้ใช้อักษร ก ข ค ง...กำกับหลังปีที่พิมพ์ ส่วนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ ให้ใช้อักษร a b c d...กำกับหลังปีที่พิมพ์
2.9 ชื่อบทความในบรรณานุกรมภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เท่านั้น นอกนั้นให้ใช้เป็นตัวอักษรตัวเล็ก ยกเว้น ตัวแรกที่ตามหลังสัญลักษณ์ : หรือ ; หรือคำเฉพาะ เช่นชื่อคน หรือชื่อประเทศ
2.10 ชื่อบทความหรือชื่อเรื่องที่ใช้ในการอิงให้ทำเป็นตัวเอียงเท่านั้น
2.11 การลงรายการครั้งที่พิมพ์ให้ลงรายการตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 2
2.12 เอกสารไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อ ม.ป.ป. ซึ่งย่อมาจากคำว่าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า n.d. ซึ่งย่อมาจากคำว่า no date สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ
2.13 เอกสารไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อ ม.ป.ท. ซึ่งย่อมาจากคำว่าไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า N.P. ซึ่งย่อมาจากคำว่า No Place สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ
2.14 เอกสารไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ให้ใช้อักษรย่อ ม.ป.พ. ซึ่งย่อมาจากคำว่าไม่ปรากฏสำนักพิมพ์สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า n.p. ซึ่งย่อมาจากคำว่า no publisher สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ
2.15 เอกสารที่มีบรรณาธิการ (Editor) หรือผู้รวบรวม (Compiler) ให้ลงชื่อบรรณาธิการหรือผู้รวบรวมในตำแหน่งของผู้แต่ง ตามด้วยวงเล็บคำว่าบรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม หรือ Ed. หรือ Comp. ในกรณีเอกสารภาษาอังกฤษที่มีบรรณาธิการหลายคน ให้ใช้คำว่า Eds.
การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote citation) ให้ใช้เฉพาะเชิงอรรถขยายความเท่านั้น โดยการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา เป็นส่วนช่วยเพิ่มเติม หรือขยายความของข้อมูลโดยการบอกแหล่งที่มา ไม่ควรซับซ้อน ควรเขียนเป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัดและเข้าใจง่าย ซึ่งหากมีความยาวมากเกินไปควรนำไปอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
รูปแบบและตัวอย่างของการอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) และการอ้างอิงท้ายบทความ (References) ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่6
ในการแสดงรูปแบบต่อไปนี้ ใช้เครื่องหมาย แทนการเว้นวรรค 1 ตัวอักษร