ว่าด้วยมิตรภาพกับปรัชญาในโลกหลังความดี: บทสะท้อนจาก For Strasbourg: Conversation of Friendship and Philosophy ของ Jacques Derrida

Main Article Content

Attasit Sittidumrong

Abstract

ในตอนหนึ่งของบทสนทนาเรื่อง “ไลซิส” ซึ่งรจนาโดยเพลโต (Plato) หนึ่งในนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งโลกตะวันตก โสเกรติส (Socrates) ตัวเอกของเรื่องได้อธิบายความสำคัญของมิตรภาพตลอดจนความสัมพันธ์ที่มิตรภาพดังกล่าวมีต่อการทากิจกรรมทางปรัชญาว่ามิตรภาพนั้นแท้จริงแล้วก็คือความรักที่ผู้ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างความดีกับความเลวมีให้กับความดีโดยมีเป้าหมายสำคัญคือเพื่อยกระดับให้ตนเองสามารถละทิ้งความเลวและเข้าถึงความดีได้อย่างสมบูรณ์ (แม้ว่าการเข้าถึงความดีอย่างสมบูรณ์จะส่งผลทาลายมิตรภาพระหว่างตนกับตัวความดี เพราะเมื่อเข้าถึงความดีแล้ว ความรักและปรารถนาในความดีย่อมหมดสิ้นไป) มิตรภาพ—สำหรับโสเกรติส—จึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการมีชีวิตที่ดี เพราะการเข้าถึงชีวิตที่ให้ความสำคัญกับความดีย่อมต้องอาศัยแรงขับอันทรงพลังจากความรักและปรารถนาในความดีดังกล่าว แรงขับซึ่งคงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากมิตรภาพ ด้วยเหตุนี้ มิตรภาพจึงเป็นคุณค่าที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกจากการทำกิจกรรมทางปรัชญาของนักปรัชญา ดังเนื้อหาจากคำกล่าวของโสเกรติสในข้อความข้างต้นซึ่งสามารถอนุมานได้ว่าหากมิตรภาพคือความรักของผู้ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความดีกับความเลว(หรือผู้ที่ไม่ดีไม่เลว) ความรักดังกล่าวก็คงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากความรักของนักปรัชญา เพราะนักปรัชญานั้นแท้จริงแล้วก็คือบุคคลที่รักในปัญญาหรืออยู่ในภาวะไม่ดีไม่เลวผู้อุทิศตนอย่างไม่หยุดหย่อนให้กับมิตรภาพผ่านการทำกิจกรรมทางปรัชญาซึ่ง— โดยตัวมันเองแล้ว—คือหนทางของการเข้าถึงความดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
Sittidumrong, A. (2019). ว่าด้วยมิตรภาพกับปรัชญาในโลกหลังความดี: บทสะท้อนจาก For Strasbourg: Conversation of Friendship and Philosophy ของ Jacques Derrida. Journal of Social Sciences Naresuan University, 12(2), 12_245–256. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jssnu/article/view/211036
Section
Book Review