การปฏิบัติตามนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืน ของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการปฏิบัติตาม นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาระดับการ ปฏิบัติตามนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดภูเก็ต และ 3) ศึกษา ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามนโยบายควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดภูเก็ตใช้รูปแบการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยกลุ่ม ประชาชนในภูเก็ตกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วน 5 หน่วยต่อหนึ่งตัวแปร สังเกตได้ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 250 คน วิเคราะห์ความสอดคล้องกลมกลืน โดยใช้ค่าสถิติ Chi-Square ค่าดัชนีระดับความกลมกลืน (GF) ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว(AGF) และดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของความคลาด เคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติการปฏิบัติตาม นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตาม นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้สมการโครงสร้าง(รEM) และใช้ค่า Chi-Square ทดสอบความสัมพันธ์ ของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการปฏิบัติตาม นโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับข้อมูลเชิงประจักษ์มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน (x2-29.67 df = 19 Pvalue = 0.056, RMSEA= O.048, RMR = 0.037, GFI = 0.98 AGFI = 0.93 Rel.x2 เท่ากับ 1.562 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2) ระดับการปฏิบัติตามนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดภูเก็ตมี ค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เท่ากับ 3.28 3) ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและอ้อมที่ ส่งผลต่อการปฏิบัติตามนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในจังหวัดภูเก็ตมี ทั้งหมด 4 ตัวแปร คือ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทัศนคติ การรับรู้ และความ พึงพอใจ