การพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์บรรเทาปวดจากสารสกัดใบยอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของสารละลายเอทานอลที่เหมาะสมต่อการสกัดสารกลุ่มฟลาโวนอยด์จากใบยอเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์บรรเทาปวด การสกัดใบยอด้วยวิธีการแช่ในตัว
ทำละลายเอทานอลที่ความเข้มข้น 40, 60, 80 และ 95 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ได้ปริมาณสารสกัดหยาบจากใบยอร้อยละ 15.4, 15.3, 15.2 และ 13.8 กรัมของใบยอแห้ง ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดจากปฏิกิริยาการก่อตัวกับอะลูมิเนียมคลอไรด์พบว่า การสกัดใบยอด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้น 95 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ได้ปริมาณฟลาโวนอยด์สูงสุดคือ 26.05±0.03 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิทินต่อกรัมของสารสกัด ผลิตภัณฑ์สเปรย์บรรเทาปวดจากสารสกัดใบยอที่มีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมร้อยละ 130.46 มิลลิกรัมสมมูลเควอซิทิน ช่วยเพิ่มระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (4.06±0.53)
Article Details
References
ปิยนุช เจริญผล และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. (2558). การศึกษาระบบตัวทำละลายที่เหมาะสมของการสกัดและปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดาวเรือง. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 23 กรกฎาคม 2558. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 77-86.
ยุพยง หมั่นกิจ และ กติกา สระมณีอินทร์. (2561). การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 20(3), 180-188.
วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล. (2553). สมุนไพรพื้นบ้านแก้ปวดเมื่อย. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 5(1), 1-13.
วิจิตรา อมรวิริยะชัย. (2561). โครงการศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อพัฒนาสเปรย์น้ำมันว่านลูกประคบชุมชนบ้านท่ายูง ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง. คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา : มหาวิทยาลัยทักษิณเขตพัทลุง.
สนธิยา เพ็งอำไพ, ณัฐพร มีเฟือง, ดวงหทัย รัตนสัจธรรม, สุนทรา เฟื่องฟุ้ง และ กาญจนา พิศาภาค. (2562).
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบสเปรย์นวดบรรเทาปวดจากสารสกัดโคกกระออมและหญ้าดอกขาว.
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 557-561.
Fidrianny, I., Octaviani, G.D., Kusmardiyani, S.(2018). Study of Antioxidant Profile and Phytochemical Content of Different Organs Extracts of Morinda citrifolia L. Journal of Phamaceutical Sciences and Research. 10(8), 2102-2105.
Lima, D.B.M., Dos Santos, A.L.D., Celestino, A.O., Sampaio, N., Baldez, J., Melecchi, M.I.S., Bjerk,T.R., Krausea, L.C., and Caramão, E.B. (2019). Ultrasonic Extracts of Morinda citrifolia L.: Characterization of Volatile Compounds by Gas Chromatography-Mass Spectrometry.
Journal of the Brazilian Chemical Society. 30(1), 132-139.
Sang, S., Cheng, X., Zhu, N., Stark, R. E., Badmaev, V., Ghai, G., and Ho, C.T. (2001). Flavonol
glycosides and novel iridoid glycoside from the leaves of Morinda citrifolia. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 49(9), 4478–4481.
Wigati, D., Anwar, K., Sudarsono, and Nugroho, A.E. (2017). Hypotensive Activity of Ethanolic Extracts of Morinda citrifolia L. Leaves and Fruit in Dexamethasone-Induced Hypertensive Rat. Journal of Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine. 22(1), 107-113.