ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชิดชนก อนันตมงคลกุล
นิติพงษ์ ทนน้ำ

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกกับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในจังหวัดภูเก็ตโดยได้รับแบบสอบถามที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ จำนวน 531ชุด การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิตค่า ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิต และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณอย่างง่าย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เคยรับประทานอาหารพื้นเมืองในจังหวัดภูเก็ต แต่ยังมีนักท่องเที่ยวจำนวนน้อยที่มีวัตถุประสงค์ในการเยี่ยมเยือนจังหวัดภูเก็ตเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ทั้งนี้ ประเด็นในการเลือกบริโภคอาหารของนักท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับรสชาติ ความสะอาด คุณภาพและความสดใหม่ของวัตถุดิบเป็นสำคัญ อาหารทะเลเป็นประเภทของอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด แนวโน้มการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 1)อัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมืองภูเก็ต 2)ความคุ้มค่าของราคา และ3)ลักษณะของร้านอาหารพื้นเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 ผลของการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์กับรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารเชิงรุก และสร้างภาพลักษณ์จุดหมายปลายทางของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ อันหมายถึงการท่องเที่ยวเชิงอาหารนั่นเอง

Article Details

How to Cite
อนันตมงคลกุล ช., & ทนน้ำ น. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองภูเก็ตของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 113–134. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/244752
บท
บทความวิจัย

References

Anantamongkolkul, C. & Pattanapokinsakul, K. (2019). Creative tourism behaviour of cultural tourists in Phuket. Journal of International and Thai Tourism, 5(2), 1-20. (In Thai)

Choe, J.Y.J. & Kim, S.S. (2018). Effects of tourists’ local food consumption value on attitude, food destination image, and behavioral intention. International Journal of Hospitality Management, 71, 1-10.

Field, A. (2009). Discovering statistics using SPSS: And sex and drugs and rock'n'roll). 3th ed. London: Sage.

Hair, J.F. et al. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. 7th ed. Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education.

Mynttinen, S. et al. (2015). Perceptions of food and its locality among Russian tourists in the South Savo region of Finland. Tourism Management, 48, 455-466.

Phakdeewong, K. (1997). Phuket cook book: Typical dishes of Phuket. Phuket: Phuket Rajabhat Institute. (In Thai)

Phuket E-Magazine. (2019). Phuket named ‘City of Gastronomy by UNESCO. Retrieved July 3, 2019, from: http://www.phuketgastronomy.com (In Thai)

Promsivapallop, P. & Kannaovakun, P. (2019). Destination food image dimensions and their effects on food preference and consumption. Journal of Destination Marketing & Management, 11, 89-100.

Schiffman, L.G., & Wisenblit, J.L. (2015). Consumer behavior. 11th ed. Boston: Pearson.

Solomon, M.R. (2015). Consumer behaviour: Buying, having, being. 2nd ed. Frenchs Forest: Pearson.

Sparks, B. (2007). Planning a wine tourism vacation? Factors that help to predict tourist behavioural intentions. Tourism Management, 28(5), 1180-1192.