อัตราแลกเปลี่ยนกับความสามารถในการแข่งขันด้านการ ส่งออกของประเทศ : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • ชยงการ ภมรมาศ
  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ
  • ธนพร ศรียากูล

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์, อัตราแลกเปลี่ยน, ความสามารถใน การแข่งขันด้านการส่งออกของประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมในเชิงประจักษ์ ว่าด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน และความสามารถในการแข่งขันด้านการ ส่งออกของประเทศ หนึ่งในวาทกรรมหลักที่ถูกผลิตซ้ ามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ในสังคมไทย โดยผู้มีอ านาจหน้าที่ ทั้งจากแวดวงวิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยน าข้อมูลอนุกรมเวลาของอัตราแลกเปลี่ยน การส่งออกโดยภาพรวม การส่งออก สินค้าเกษตร และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิทยาเชิงปริมาณ ขั้นสูง การวิเคราะห์ถดถอย และการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ด้วยวิธีของโจฮานเซน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอย พบว่า อัตราแลกเปลี่ยนมี ความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ทั้งกับการส่งออกโดยภาพรวม การส่งออกสินค้า เกษตร และการส่งออกสินค้าสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่การทดสอบความสัมพันธ์เชิง ดุลยภาพในระยะยาวด้วยวิธีของโจฮานเซน กลับแย้งว่า อัตราแลกเปลี่ยนไม่มี ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวใดๆ กับทั้ง 3 ตัวแปร การกล่าวอ้างว่าอัตรา แลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการ ส่งออกของประเทศ ไม่ว่าจะโดยภาพรวม สินค้าเกษตร หรือสินค้าอุตสาหกรรมนั้น จึงมิใช่การบกพร่องโดยสุจริต แต่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการการครอบง า เชิงวาทกรรม ที่เอื้อต่อการฉกฉวยประโยชน์ของชนชั้นน า ด้วยการอ าพรางให้อยู่ใน รูปของความรู้และความจริง ซึ่งสมาชิกอื่นๆ ของสังคมไม่คิดหวาดระแวง หรือโต้แย้ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-26