ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อการพึ่งตนเองของ ผู้พิการทางการได้ยิน: กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สิริอัตตะกุล

คำสำคัญ:

การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร, การพึ่งตนเอง, ผู้พิการทางการได้ยิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน 2) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคใน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน 3) เพื่อศึกษาความต้องการ และ วิธีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน เป้าหมายหลักในการวิจัย คือ ผู้ พิการทางการได้ยินที่สามารถใช้ภาษามือในการสื่อสาร หรืออ่านหนังสือได้ จ านวน 20 คน ที่ประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดชลบุรี เป้าหมายรองในการวิจัยครั้งนี้ คือ ล่าม ภาษามือ จ านวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลสนทนากลุ่ม เครื่องบันทึกเสียง และกล้องบันทึกภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสมัภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มี ส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยินจะผ่านทางสมาชิกในครอบครัว เพื่อนผู้พิการ ทางการได้ยิน ล่ามภาษามือ โทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ต ปัญหาและอุปสรรค ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน คือ การสื่อสาร ซึ่งผู้พิการ ทางการได้ยินเล็งเห็นว่าเป็นปัญหาที่ส าคัญที่สุด ผู้พิการทางการได้ยินไม่สามารถ สื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจความต้องการของตนเองได้ จึงท าให้สังคมไม่เปิดโอกาสให้กับ ผู้พิการทางการ ได้ยิน และมองว่าผู้พิการทางการได้ยินไร้ความสามารถ ความ ต้องการ และวิธีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้พิการทางการได้ยิน คือ ล่ามภาษามือ ส าหรับผู้พิการทางการได้ยินใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของ ผู้พิการทางการได้ยิน รองลงมา คือ ต้องการให้สังคมเข้าใจวัฒนธรรมการสื่อสารของ ผู้พิการทางการได้ยิน ที่แสดงออกทางสีหน้า และท่าทาง รวมไปถึงโอกาสจากสังคม เพื่อจะได้แสดงว่าผู้พิการ ทางการได้ยินมีความสามารถ มีศักยภาพ ไม่เป็นภาระของ สังคม และสามารถพึ่งตนเองได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-26