ความผูกพันในองค์การ: ศึกษากรณีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ผู้แต่ง

  • อนันต์ มณีรัตน์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความผูกพันในองค์การ, ลักษณะงาน, อาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันในองค์การของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาการมีอิทธิพลของปัจจัยด้านการบริหารองค์การ ลักษณะงาน การพัฒนาอาชีพ และแผนพัฒนารายบุคคลที่มีต่อความผูกพัน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์การของของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จำนวน 190 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติ ผลการศึกษา พบว่า 1) ความผูกพันในองค์การของบุคลากรในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยด้านการบริหารองค์การ (ด้านคุณภาพชีวิต และด้านบรรยากาศในองค์การ) มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ 3) ปัจจัยด้านลักษณะงาน (ด้านความท้าทาย และด้านโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น) มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ 4) ปัจจัยด้านการพัฒนาอาชีพ (ด้านการจัดทำเส้นทางอาชีพ ด้านการมอบหมายงานที่ท้าทายความสามารถ และด้านการประชุมเชิงปฏิบัติการ) มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ 5) ปัจจัยด้านแผนพัฒนารายบุคคล (ด้านนโยบายด้าน IDP และด้านองค์ประกอบของ IDP) มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การ 6) ความผูกพันในองค์การของบุคลากรในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแตกต่างกันไปตามลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงานและหน่วยงานที่สังกัด ยกเว้นอายุที่ไม่มีอิทธิพลให้ความผูกพันในองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 7) บุคลากรในสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนิยามองค์ประกอบของความผูกพันในองค์การ เป็น 2 ด้าน คือ ด้านงาน และด้านคน 8) ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนเรื่องโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการทำงานเป็นทีม แล้วนำไปใช้อย่างจริงจัง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28