ความเครียดในงานของข้าราชการตำรวจไทย

ผู้แต่ง

  • สนธยา พฤกษ์ทยานนท์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นิตยา เงินประเสริฐศรี ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเครียด, งาน, ข้าราชการตำรวจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความเครียดในงาน ของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง และ2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงานส่งกำลังบำรุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจในสังกัดสำนักงาน
ส่งกำลังบำรุง จำนวน 214 คน  ผลการวิจัย พบว่า ข้าราชการตำรวจมีความเครียดในงานด้านร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุด คือ รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย และความเครียดในงานด้านจิตใจ อยู่ในระดับมากที่สุด คือ รู้สึกไม่มีสมาธิ สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้างมากกว่าคู่สนทนา ระดับปัจจัยด้านสภาพร่างกายที่เกิดขึ้น สูงสุด คือ ความเจ็บป่วยทางร่างกาย ระดับปัจจัยด้านปัญหาส่วนตัวที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ ความขัดแย้งในครอบครัว ระดับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ สถานที่ตั้งของสถานที่ทำงาน ระดับปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ระดับปัจจัยด้านสังคมที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน  ระดับปัจจัยด้านการงานที่เกิดขึ้นสูงสุด คือ หน้าที่ความรับผิดชอบ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านปัญหาส่วนตัว ปัจจัยด้านการงานมีความสัมพันธ์กับความเครียดในงานด้านร่างกายของข้าราชการตำรวจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยด้านสภาพร่างกาย ปัจจัยด้านปัญหาส่วนตัว ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านการงานมีความสัมพันธ์กับความเครียดในงานด้านจิตใจของข้าราชการตำรวจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31