แนวทางการพัฒนาผลงานทางวิชาการด้วยแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม

作者

  • ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์
  • ธีรภัทร กิจจารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

关键词:

การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ, พัฒนาผลงานวิชาการ, แนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม

摘要

การพัฒนาผลงานทางวิชาการให้มีคุณภาพ เป็นเรื่องที่นักวิชาการจะต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้อยู่เสมอ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลงานทางวิชาการด้วยแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม เพื่อให้บุคลากรสายวิชาการได้มีแนวทางหรือวิธีการในการพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพเพื่อเป็นประโยชน์และความก้าวหน้าทางวิชาชีพทางวิชาการ โดยผู้ทำผลงานจะต้องมีแนวคิดในการทำผลงานเชิงกระบวนการทั่วๆ ไปก่อน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญที่จะต้องเรียนรู้และมีความเข้าใจ ในเบื้องต้น และนำมาบูรณาการกับแนวคิดของบลูม โดยประกอบด้วยสองแนวคิดใหญ่ๆ แนวคิดแรกได้จากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียน คือ แนวคิดทั่วไปการทำผลงานทางวิชาการเชิงกระบวนการมี 4 ขั้นตอน คือ 1. การเลือกเรื่อง 2. กระบวนการเตรียมการ 3. เทคนิคการเขียน และ 4. บรรณาธิกร และแนวคิดที่สอง คือ แนวทางการพัฒนาผลงานทางวิชาการด้วยแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม พบว่า แนวคิด ทฤษฎีของบลูมสามารถใช้เป็นตัวแบบวิธีเขียนผลงานวิชาการเชิงบูรณาการเข้ากับการพัฒนาผลงานทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความลุ่มลึกและการเขียนผลงานวิชาการให้มีความสอดรับกับการใช้ระดับอนุกรมวิธาน ของบลูม กล่าวคือ นักวิชาการต้องคำนึงถึงระดับหรือขั้นของอนุกรมวิธานของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ที่จะเป็นตัวชี้วัดระดับคุณภาพผลงานวิชาการ โดยผู้เขียนขอผลงานวิชาการ ควรเขียนให้ครอบคลุมสาระเนื้อที่อยู่จากฐานพีระมิดของบลูมไปสู่ระดับหรือขั้นที่สูงขึ้น โดยพัฒนาผลงานวิชาการนั้น ให้ยกระดับอย่างน้อย 4-5 ระดับขึ้นไป เพราะขั้นของพีระมิดเป็นเกณฑ์ตรวจสอบหรือเพิ่มระดับคุณภาพของผลงานวิชาการ เพื่อให้ได้ผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์แก่แวดวงวิชาการและการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นของนักวิชาการเองอีกด้วย

参考

จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2561). การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่ 21 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy). สืบค้น สิงหาคม 3, 2564, จาก http://www.nwm.ac.th/nwm/wpcontent/uploads/2018/07/%E0%B8%81%3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21.pdf.

คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่. (2559) .การจัดการความรู้ด้านการวิจัยประจำปี 2559 เรื่อง การพัฒนาผลงานทางวิชาการ ด้วยกระบวนการงานวิจัย. สืบค้น สิงหาคม 22, 2561, จาก https://www.google.co.th/search?q..69i57.29860j0j8&sourceid=chrome&ie=UTF-8.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2547). การพัฒนาผู้สูงอายุ. เพชรบูรณ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2545). “วิธีวิทยาการวิจัย: เล่าสู่กันฟัง.” ในสุเทพ บุญซ้อน บรรณาธิการ วิธีวิทยาการวิจัย วิจัยทางสังคมศาสตร์ในรอบบัณฑิตศึกษาของไทย. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ประภาพร ถึกกวย. (2556, กันยายน – ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. Veridian E-Journal, Silapakorn University Humanities, Social Sciences, and Arts, 6(3), 92-109.

รัฐพล ประดับเวทย์. (2560, กันยายน – ธันวาคม). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิด อนุกรมวิธานของบลูม. Veridian E-Journal, Silapakorn University Humanities, Social Sciences, and Arts, 10(3), 1,051-1,065.

รัตนะ บัวสนธิ์, นันทิมา นาคาพงศ์, นํ้าอ้อย วันตา, ประภัสสร วงษ์ดี, และยุพิน โกณฑา. (2553, กันยายน- ธันวาคม). การสังเคราะห์ งานวิจัยด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน: การวิเคราะห์อภิมาน. Journal of Education Naresuan University, 14(3), 19-32.

วรุตม์ อินทฤทธิ์. (2562, กันยายน-ธันวาคม). ผลของการเรียนการสอนสังคมศึกษาบนฐานทฤษฎี พุทธิพิสัยของบลูม ฉบับปรับปรุงที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(3), 182–192.

ศิริญญา หล้าเต็น, และเสรี ชัดแช้ม. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). การออกแบบแอปพลิเคชันบนมือถือตามแนวคิดของบลูมปรับใหม่. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 1-11.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2559, มกราคม–มิถุนายน). เทคนิคการสร้างผลงานวิชาการ. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 3(1), 1–2.

อรสิรินทร์ เพิ่มพัชรพร, และวีรพล แสงปัญญา. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุงที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 382–396.

Anderson, L. W., &Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman. Retrieved July 15, 2021. from http://wiwatmee.blogspot.com/2012/09/blooms-revised- taxonomy-in-2001.html.

Armstrong, P. (2010). Bloom’s Taxonomy. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieved January 30, 2022 from https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy.

Bloom, B. S., et al. (1956). Toxonomy of Educational Objectives: Cognitive and Affective Domains. New York: David Mckay.

Marzano, Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. California: Corwin Press.

Chandio, Muhammad Tufail, Pandhiani, Saima M., &Lqbal, Rabia. (2017, July - December). Article Bloom's Taxonomy: Improving Assessment and Teaching-Learning Process. Journal of Education and Educational Development, 3(2), 1,034.

Zeichner, K. M., &Tabachnick, B. R. (1991). Reflections on Reflective Teaching. New York: Falmer Press.

##submission.downloads##

已出版

2022-04-29