การพัฒนาทักษะการเขียนตอบอัตนัย โดยการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัยรายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา
关键词:
ข้อสอบอัตนัย, ความสามารถในการเขียน, แบบฝึกทักษะการเขียนตอบ摘要
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัยรายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนตอบอัตนัยของนักศึกษารายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทยที่เน้นความรู้เนื้อหาทางด้านทฤษฎีตามที่หลักสูตรกำหนด และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษารายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทยที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 23 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 แบบวัดทักษะการเขียนตอบอัตนัยก่อนและหลังเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.66 – 1.00 แบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.66 – 1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.66 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัยรายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย มีค่าประสิทธิภาพที่ 81.52/81.01 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ทักษะการเขียนตอบอัตนัยของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนี้ เพราะนักศึกษามีทักษะในการเขียนตอบคำถามที่ตรงประเด็น มีความชัดเจนครอบคลุมมากขึ้น มีการคิดอย่างเป็นระบบ และการใช้ภาษามีการเรียบเรียงในการตอบมากขึ้น ส่วนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
参考
กัลยาณี สูงสมบัติ. (2551). การพัฒนาความสามารถในการเขียนตอบข้อแบบอัตนัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยฝึกคิดและเขียนอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จินตนา สุริยะศรี, อาภร สุนทรชัย, และยุพดี ทองโคตร. (2556). การพัฒนาความสามารถในการเขียนคำตอบข้อสอบประเภทอัตนัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชธานีวิทยาเขตอุดรธานี. บทความวิจัยเสนอใน การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 หน้า 349-356. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556, มกราคม–มิถุนายน). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7–20.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2558). การสื่อสารในองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธมลวรรณ โชติระโส. (2553). การสร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิตย์รดี สารจันทร์, และพิมพ์ยุพา ประพันธ์. (2561, พฤษภาคม-มิถุนายน). การพัฒนาความสารถในการเขียนเล่าเรื่องภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการสอนเขียนของเฮวินส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 40-47.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญณิตา จิตรีเชาว์, บุญเรือง ขจรศิลป์, และวารุณี ลัภนโชคดี. (2560, มกราคม–มิถุนายน). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้แบบฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในวิชาโครงการคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 144-151.
เมษา นวลศรี. (2556) การประเมินผลการเรียนรู้. ปทุมธานี: ศูนย์การเรียนรู้การผลิตและจัดการธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รายงานผลการดำเนินการ มคอ. 5. (2559). รายวิชา ดน 2107235 การขับร้องเพลงไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
_______. (2560). รายวิชา ดน 2107235 การขับร้องเพลงไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
_______. (2561). รายวิชา ดน 2107202 การขับร้องเพลงไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์. (2554). รายงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนตอบอัตนัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วิไลลักษณ์ แก้วกระจ่าง. (2557). การเพิ่มทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกโครงเรื่อง. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.
สมบัติ ศิริจันดา. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.