การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ ในรายวิชาทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา
关键词:
เพื่อนคู่คิด, การเรียนรู้ทางออนไลน์, ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ摘要
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ ในรายวิชาทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ และ 4) ศึกษาเจตคติของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 2 ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.49/90.19 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ เท่ากับ 0.7682 โดยนักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.81 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีเพื่อนคู่คิดทางออนไลน์อยู่ในระดับมาก
参考
จักรพงษ์ พร่องพรมราช. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). รายการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาสุขศึกษา เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบคู่คิดคู่สร้าง (Think Pair Share) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 33-45.
จิระประภา คำภาเกะ. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริซึมและทรงกระบอกโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
นวกานต์ วิภาสชีวิน. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) เรื่องสถิติ ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสมร ชูเอม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2551, มกราคม-เมษายน). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99-105.
วรรณวิสา ยศระวาส. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือแบบเพื่อนคู่คิด รายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วราภรณ์ แก้วไพล. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 432-442.
Lyman, F. (1987). Think-Pair-Share: An Ending Teaching Technique. MAA-CIE Cooperative News, 1, 1-2.
Mazur, E. (1997). Peer Instruction: A User's Manual. New Jersey: Prentice Hall.