แนวทางการบริหารจัดการหนี้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ปฏิญญา เมืองเย็น มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • มยุรี รัตนเสริมพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • วาสิตา เกิดผล ประสพศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการหนี้, กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี, แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการบริหารจัดการหนี้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง 2. ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหนี้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยผสม โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน ได้แก่ คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน และสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

   ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการหนี้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยรวมอยู่ในระดับสูงสุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการกองทุนภายหลังเป็นหนี้ค้างชำระ เกิดจากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ด้านการบริหารจัดการกองทุนก่อนเป็นหนี้ เกิดจากสมาชิกขาดความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการ กระบวนการพิจารณาโครงการใช้เวลานาน และด้านการบริหารจัดการกองทุนขณะเป็นหนี้ ลูกหนี้นำเงินไปใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ที่ขอกู้ และลูกหนี้ขาดทุนในการดำเนินงาน 2. องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ กล่าวคือ สร้างการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้ปฏิบัติงาน และสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  ผู้ขอกู้เงิน เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานของกองทุน การเขียนโครงการเพื่อรับ การสนับสนุน การพิจารณาโครงการประกอบการกู้เงิน และการส่งใช้เงินคืน ก่อนที่จะเสนอโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนอย่างแท้จริง และลดการเกิดหนี้ค้างชำระในอนาคต

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564). การบริหารลูกหนี้การค้า. สืบค้น ธันวาคม 22, 2565, จาก https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-22-19-38-58/2021-11-25-15-57-47.

นงนภัส ไพรศรี. (2558). ประสิทธิผลการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ปูริดา บัวหลวง, และอารีรัตน์ ภูธรรมะ. (2561). การจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรกมน เกสรบัว, และสุชาติ ศรียารัณย. (2561). ประสิทธิผลการจัดการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วราวุฒิ องค์การ, และชาญชัย จิวจินดา. (2563). ผลสำเร็จของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

วันเพ็ญ กองคำ, และธนวิทย์ บุตรอุดม. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติ ในจังหวัดอุดรธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สาวินี เพ็งธรรม, และศิวฤทธิ์ สุนทรเสณี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินเขตชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี. (2562). คู่มือการบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (ฉบับเจ้าหน้าที่). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดอ่างทอง. (2565). จัดการโครงการหมุนเวียน/อุดหนุน. สืบค้น ธันวาคม 15, 2565, จาก http://164.115.23.70/twdf/index.php.

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี. (2562). แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์. สืบค้น ธันวาคม 19, 2565, จาก https://km.cpd.go.th/pdf.

อัญชุลี ขวัญอ่อน. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กรณีศึกษา: อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Best, W. John. (1970). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Yamane, T. (1967). Statistics an Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper &Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

เมืองเย็น ป. . ., รัตนเสริมพงศ์ ม. ., & เกิดผล ประสพศักดิ์ ว. . . (2024). แนวทางการบริหารจัดการหนี้ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. Lawarath Social E-Journal, 6(1), 97–114. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/267826