การบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
การบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, นโยบายไทยแลนด์ 4.0บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาภาวะผู้นำและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 3) ศึกษาภาวะผู้นำและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ – ผล กับการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวม มีการบริหารจัดการอยู่ในระดับปานกลาง 2) ภาวะผู้นำและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พบว่า ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านความคิดสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับการบริหารจัดการโครงการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ด้านนวัตกรรม และด้านเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2554-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรมกิจการผู้สูงอายุ.
ชนัญญา ปัญจพล (2558) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลิดา ศรมณี. (2555). การสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล. รายงานการวิจัยได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเภทการวิจัยมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2555.
ณัฐกฤตา ศิริโสภณ. (2561). ประสิทธิผลของนวัตกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 19(ฉบับพิเศษ), 495-504.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). Modern Management การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
พีระศักดิ์ วรฉัตร. (2556). ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย 8(1), 261-290.
เมธี ถูกแบบ สุชาติ ผิวงาม และ ประพีร์ อภิชาตสกล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) 4(7), 89-102.
ราชกิจจานุเบกษา. (2552). ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเษกษา.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร, รวิวงศ์ศรีทองรุ่ง และวิเชียร วิทยอุดม. (2560). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการให้บริการจ่ายเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9, 194-204.
วิโรจน์ ก่อสกุล และคณะ. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนการวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วีระพงษ์ บางเดี่ยว. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดยโสธร. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. (2555). นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันตกเฉียงเหนือ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 1(1), 146-165.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก. (2561). เอกสารประวัติความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก. เพชรบุรี: ผู้แต่ง.
อารีย์ มยังพงษ์ และ เกื้อกูล ตาเย็น (2559) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อิงทิติยา วงศ์จินดา และ จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การศึกษาความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ ตำบลสระพลี อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร. RMTUCON การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 11 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 10, 1489-1501.
Davis, G. A. (1973). The school wide enrichment model: Developing creative and productive giftedness. In Canlangelo, N., and Davis, G. A. Handbook of GiftedEducation 184-203. United State of American: Pearson Education.
Layton. R. (editor). (1994). Who Need the Past? Indigenous Values and Archaeology. London: Routledge.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research 26(3), 499-510.
Schumpeter, J. (1934). The Theory of Economic Development. (reproduced, New York: 1961). Cambridge: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ