การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ เจริญสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, วัฒนธรรมลาวแง้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และ 2) ประเมินหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อายุ 10-11 ปี ในปีการศึกษา 2561 จำนวน  35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม  2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.800  3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ และ 4) แบบวัดเจตคติ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.790 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที  ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบหลักสูตร คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหาสาระ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมฝึกอบรม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ การวัดและประเมินผล และแผนการฝึกอบรม ผลการประเมินหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ฝึกอบรมได้  2) ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง วัฒนธรรมลาวแง้ว สำหรับเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน มีดังนี้ (1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาวแง้ว ของเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (2) ทักษะปฏิบัติ เรื่องวัฒนธรรมลาวแง้ว ของเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) เจตคติต่อวัฒนธรรมลาวแง้ว ของเด็กในองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กชพรรณ คมขำ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง ภาษาลาวครั่ง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

กาญจนา คุณารักษ์. (2540). หลักสูตรและการพัฒนา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จงกล นุชนารถ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การตัดกระดาษงานพิธี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2545). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.

รุจิรา เชาว์ธรรม, นงนุช ปุ้งเผ่าพันธุ์, สมิง จงกะสิกิจ. (2555). รายงานวิจัย ลาวแง้ว. กรุงเทพฯ: หนังสือมูลนิธิเล็ก-ประไพวิริยะพันธุ์.

วิศรุต วินิจฉัยกุล. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองบัวตากลาน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุภวรรณ เฟื่องฟู. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การทำน้ำมันมะพร้าวผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรยุคปฏิรูปการศึกษาไทย. เชียงใหม่: The Knowledge Centre.

Panin, Ornsiri. (2012). Ban Lae Ruean Phuan Bangplama jark Chiang Kwang Su Lum Nam Pak Klang Kong Pratet Thai. (in Thai). [Phuan Bangplama Vernacular Houses: from Chiang Kwang to Thai Central Region River Basin]. Bangkok: Usakane.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30