การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถามแบบชื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถามแบบชื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • กุลสตรี โชติวิวัฒน์

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, การจัดสวนถาดแบบชื้น, การเรียนรู้การงานอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถาดแบบชื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถาดแบบชื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเตาปูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง รวม 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.679 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที  ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถาดแบบชื้นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบหลักสูตร คือ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย     (3) เนื้อหาสาระ (4) โครงสร้างหลักสูตร (5) กิจกรรมการฝึกอบรม (6) สื่อการเรียนรู้ (7) การวัดและประเมินผล  (8) เวลาการฝึกอบรม (9) แผนการจัดฝึกอบรม (10) เอกสารประกอบการฝึกอบรม ผลการประเมินหลักสูตรของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้  2) ผลการใช้หลักสูตรประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ดังนี้ (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการจัดสวนถาดแบบชื้นของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 หลังจากการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมตามหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ทักษะการจัดสวนถาดแบบชื้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การจัดสวนถาดแบบชื้น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาวพร้าว.

พรพนารัตน์ ชมภูนุช. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การสร้างสื่อภาพเคลื่อนไหว สำหรับครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุณฑริกา แจ่มจำรัส. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การประดับสถานที่ด้วยผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ประเวศ ไชยวงศ์. (2551). การจัดภูมิทัศน์. กรุงเทพฯ: เอ็ม แอล ทีโปรเซส.

ประเสริฐ เกิดรพ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง สวนศิลป์สื่อสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พรรณเพ็ญ ฉายปีชา. (2540). การจัดสวน Garden design. กรุงเทพฯ: บ้านและสวน.

สง่า แตงวงษ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง การทอผ้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหนองกระทุ่ม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณุบรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2558. ข่าวเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2554). ความรักผูกพันกับจีน: การระลึก 30 ปี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30