การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี
การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา, ปัญหาการดำเนินงานวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้างาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 183 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 43 คนและครูหัวหน้างาน จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (ประเภทปลายปิด ที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) มี 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบปลายเปิด ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ด้าน สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา มีสภาพการดำเนินงานต่ำที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) ปัญหาสูงสุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาปัญหา การมีส่วนร่วมประเมินผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ในภาพรวมของสถานศึกษา 3) แนวทางดำเนินงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา คือ ผู้บริหารดำเนินการแต่งตั้งครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นคณะกรรมการดำเนินงานวิชาการในสถานศึกษา จัดการประชุม สัมมนา เพื่อให้ได้รับความรู้ใหม่ๆในการพัฒนาตนเอง โดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)ร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับครู และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เสริมสินพรี เพรสซิสเท็ม.
กายสิทธิ์ ศุภเดชวิวัฒน์. (2551). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
กรมวิชาการ. (2542). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรวรรณ จันทน์ผา. (2551). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนระดับ ช่วงชั้นที่ 1-2 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: เพชร.
จินตะหรา ศรีเมือง. (2554). สภาพการบริหารงานวิชาของโรงเรียนในเครือข่าย สหวิทยาเขตอนุบาลจังหวัด ศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ชูศรี ถนอมกิจ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณรงค์ศักดิ์ หงส์คำ. (2551). สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ดารัตน์ พิมพ์อุบล. (2550). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ถาวร ศรีเกตุ. (2551). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นัยนา นิลพันธ์. (2556) . คุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภัสสร แป้นหว่าง. (2555). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ประสิทธิ์ อะภัย. (2553). การมีส่วนร่วมของกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พิชญญ์สินี ชมพูคำ. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา “แนวคิดทฤษฎี”( พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ ,และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
วิไล ทองแผ่. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.
อิทธิ โลหะชาละ. (2544). การมีส่วนร่วมในงานวิชาการของครูและอาจารย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
Agthe, M. (1992). La quality des ensigns. New York: Nantes.
Beauchamp, George A. (1985). A curriculum theory. Illinois: F.E. Peacork.
Best, & Kahn James V. (1993). Research in Education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Best, J.W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Dale, B. G. (1994). Managing Quality (2nd ed.). London: Prentice Hall.
Doll, R. (1996). Curriculums improvement. Boston: Allyn & Bacon.
Freeman, Luthans. (1995). Organization behavioral (7th ed.). Singapore: McGraw-Hill.
Good, C. V. (1973).Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.
Good, Mary L. (2006). Integrating the Individual and the organization. New York: Wiley.
Hogg, Michael A.; & Vaughan, Graham M. (1998). Social Psychology (2nd ed.). New York: Prentice Hall.
Juran, J. M., & Gryna, F. M. (1993). Quality planning and analysis (3rd ed.). Singapore: McGraw-Hill.
Koufman, B. (1949). Crystal statistics II. Partition Function Evaluated by Spinor Analysis.
Likert, Rensis. (1967). The method of constructing and attitude scale, Reading in attitude theory and measurement. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.
Rodriguez, A, Jr. (1997, April). Perceptions of New York City bilingual district directors on instructional leadership and organizational culture. Dissertation Abstracts International, 57, 4237 – A.
Swansburg, R. C. (1996). Management and Leadership for nurse Managers. Boston: Jones and Barticn.
Taba, H. (1978). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Weidner, & Maier. (1985). The Action Research Planner (3rd ed.). Victoria: Deakin University Press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.
Zuber, Skerritt, O. (1991). Action Research for change and development. Gower Avebry Aldershot.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ