การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ, สมรรถนะ, โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารหน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ 2) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารหน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ 3) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล กับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารหน่วยโรงเรียนทหารราบ
ศูนย์การทหารราบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการทหารหน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ จำนวน 150 นาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. สมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยในการพัฒนาสมรรถนะมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยงานโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ โดยพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยในการพัฒนาสมรรถนะ ด้านวิทยากร และด้านเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยงานโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ลักษณะส่วนบุคคลในภาพรวม ได้แก่ ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยงานโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เพศและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร หน่วยงานโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ ด้านความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2560). หนังสือราชการ ยศ.ทบ. ที่ กห. 0461/0012 ลง 27 ธ.ค. 60 เรื่อง โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ปี 62 - 66. กรุงเทพฯ: กองทัพบก.
ฐิติพงษ์ ตรีศร. (2552). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ธวัช เนียมสิน. (2560). การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ประเวศ วสี. (2545). การดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้. สานปฏิรูป, 5(53), 74-76.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2538). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
เมทณี ระดาบุตร, โสภาพันธ์ สอาด, สุวลี มิลินทางกูร และสายหยุด พิลึก. (2554). สมรรถนะการใชเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยบริการ, 22(1), 109-116.
โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ. (2562). ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และภารกิจการจัดหน่วย ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ. สืบค้น กันยายน 18, 2562, จาก http://infantryschool.rta.mi.th.
ศุภชัย ยาวประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งทาทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). การปฏิรูประบบราชการ. สืบค้น กันยายน 18, 2562, จาก https://www.opdc.go.th/content/OQ.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2542). เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยระบบสาธารณสุข.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ