การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ สำนักงานศาลปกครองกลาง
การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ สำนักงานศาลปกครองกลาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, องค์กรแห่งการเรียนรู้, สำนักงานศาลปกครองกลางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศาลปกครองกลาง 2) ศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศาลปกครองกลาง 3) ศึกษาองค์กรแห่งการเรียนรู้มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ - ผลกับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศาลปกครองกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานศาลปกครองกลาง จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสำนักงานศาลปกครองกลาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในภาพรวมและรายด้านมีพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 2) องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 3) องค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านรูปแบบความคิด ด้านภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ – ผลกับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านการคิดเชิงระบบ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ – ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านบุคลากรมีความรอบรู้ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ – ผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 – 40 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานคดีปกครอง สังกัดกลุ่มช่วยงานตุลาการ มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1 - 5 ปี มีรายได้ต่อเดือน 15,001 - 35,000 บาท 5) ลักษณะส่วนบุคคล ด้านอายุ มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ