การพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม

การพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ช่อผกา โถแก้ว

คำสำคัญ:

การบริหารราชการ, การมีส่วนร่วม, แผนพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม 3) ศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานจ้างตามภารกิจ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านภาวะผู้นำ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทัศนคติ และด้านการจูงใจ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ในภาพรวมและรายด้านมีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการรับฟังความคิดเห็น ด้านการสร้างความร่วมมือ ด้านการเข้ามามีบทบาทหรือเกี่ยวข้อง ด้านการเสริมอำนาจ และด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร 3) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ ความสัมพันธ์กับการพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านภาวะผู้นำ ด้านความรู้ความเข้า ด้านการจูงใจ และด้านทัศนคติ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย