การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียง บ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียง บ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ถนอม จิตไว

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, วัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคาดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคา ก่อนและหลังการใช้หลักสูตร 2.2) ศึกษาความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคาหลังการใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เวลา 10 ชั่วโมง จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้ว 1) หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่องวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.724 และ 3) แบบประเมินความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคา ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.981 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 มีองค์ประกอบของหลักสูตรดังนี้1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้าง 4) เนื้อหาสาระ 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) สื่อการเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผล และ 8) แผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งผลการประเมินหลักสูตรฉบับร่าง พบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสม
2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่อง วัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมลาวเวียงบ้านดอนคาหลังการใช้หลักสูตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฆนัท ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.

จิราพร สมประสงค์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2543). การพัฒนาหลักสูตร: หลักสูตรและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชิสา โตเรือง. (2554). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยวในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี.

ชมพูนุช สิงหกุล (2554). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เรื่อง ท่าจีนที่รัก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เตือนใจ น้อยแก้ว. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสุพรรณบ้านเรา “เที่ยวดอนเจดีย์” สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ เทพสตรี.

นารีรัตน์ หลีนุกูล. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง สามชุกตลาดร้อยปี สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สหวิทยาเขตเมืองสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2550). หลักการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้า ออฟ เคอร์ มีส์ท์.

ไพรินทร์ สุขพินิจ. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ประเพณีขึ้นหอเจ้านายของชุมชนลาวครั่ง หมู่บ้านโคก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศรีประไพ ฤทธิพร. (2554). การพัฒนาหลักสูตรเรื่อง ตลาดเก้าห้อง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำราญ โคตรบุรี. (2552). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง การอนุรักษ์โบราณสถานโบราญวัตถุ จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย